unknown[80] โพสต์เมื่อวันจันทร์ที่ 19 มกราคม 2558, 16:04:11 (514 สัปดาห์ ก่อน)
Top

ในกรณีที่นำเข้าผลิตภัณฑ์เพื่อกลับมาซ่อมแซม ต้องดำเนินการอย่างไรเพื่อไม่ต้องชำระอากรขาเข้า และหากสามารถทำได้ ระหว่างที่ดำเนินการยังไม่เรียบร้อย สามารถชำระอากรแล้วสงวนสิทธิ์ไว้ก่อนได้หรือไม่

ADMIN โพสต์เมื่อวันจันทร์ที่ 19 มกราคม 2558, 17:32:15 (514 สัปดาห์ ก่อน)
#1 Top

ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตและส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ สามารถขอนำกลับเข้ามาซ่อมเพื่อส่งกลับออกไปอีกครั้งหนึ่ง

โดยจะได้รับยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับผลิตภัณฑ์นั้น

แต่จะไม่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับชิ้นส่วนที่ใช้การซ่อม

ขั้นตอนคือ

1. ยื่นขอแก้ไขบัญชีปริมาณสต๊อก เพื่อเพิ่มรายการผลิตภัณฑ์ที่นำกลับเข้ามาซ่อม

  • ขออนุมัติปริมาณสต๊อกได้ไม่เกิน 10% ของกำลังผลิตตามบัตรส่งเสริม
  • Project Code ใช้เป็นมาตรา 36(1) แบบหมุนเวียน คือ xxxxxx11
  • Group No. ให้เริ่มต้นจาก R00001 ไปตามลำดับ
  • ชื่อหลัก ให้ใช้ชื่อผลิตภัณฑ์ตามบัตรส่งเสริม หรือผลิตภัณฑ์ที่ส่งออก
  • ชื่อรอง ให้ใช้ตามผลิตภัณฑ์ที่จะนำกลับเข้ามาซ่อม

2. เมื่อได้รับอนุมัติแล้ว นำไปบันทึกฐานข้อมูลที่ IC จากนั้น ยื่นสั่งปล่อยเช่นเดียวกับขั้นตอนปกติ

3. ยื่นขออนุมัติสูตรการผลิตจาก BOI จากนั้นนำไปบันทึกฐานข้อมูลที่ IC

  • สูตรจะต้องเป็น 1 ต่อ 1 เท่านั้น
  • จะไม่อนุมัติรายการวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนอื่นๆ ที่ใช้เพื่อการซ่อม

4. ยื่นตัดบัญชีหลังจากส่งผลิตภัณฑ์ที่ซ่อมเสร็จแล้วออกไปต่างประเทศ

 

ระหว่างที่ยื่นแก้ไขบัญชีปริมาณสต๊อก สามารถชำระภาษีสงวนสิทธิ์ได้เช่นเดียวกับกรณีการสงวนสิทธิ์วัตถุดิบรายการอื่นๆ ครับ

unknown[80] โพสต์เมื่อวันอังคารที่ 17 กุมภาพันธ์ 2558, 10:54:57 (509 สัปดาห์ ก่อน)
#2 Top

ขอสอบถามเพิ่มเติมค่ะ ถ้าในกรณีที่ส่งขายให้ลูกค้าที่เป็นเขตปลอดอากร และลูกค้าส่งไปขายต่อยังต่างประเทศ และผู้ที่จะส่งกลับมาให้ซ่อมคือต่างประเทศ ถือว่าอยู่ในข่ายที่สามารถขออนุมัติได้หรือไม่ค่ะ

ADMIN โพสต์เมื่อวันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ 2558, 07:59:00 (509 สัปดาห์ ก่อน)
#3 Top

A(BOI) -> B(Free Zone) -> C(ต่างประเทศ)

A สามารถนำสินค้าจาก C กลับเข้ามา เพื่อซ่อมแซม แล้วส่งกลับออกไปให้ C โดยขอใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าตามมาตรา 36 ได้ครับ

unknown[80] โพสต์เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ 2558, 13:30:01 (509 สัปดาห์ ก่อน)
#4 Top

ถ้านำกลับมาจาก C เพื่อซ่อม แต่ซ่อมเสร็จส่งไป B ค่ะ ได้หรือไม่ค่ะ

ADMIN โพสต์เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ 2558, 15:36:29 (509 สัปดาห์ ก่อน)
#5 Top

สามารถทำได้ครับ

หากเป็นการนำสินค้าที่ a ส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศ กลับเข้ามาซ่อม เพื่อส่งออก ก็สามารถใช้สิทธิได้ครับ

unknown[80] โพสต์เมื่อวันอังคารที่ 24 กุมภาพันธ์ 2558, 12:38:24 (508 สัปดาห์ ก่อน)
#6 Top

A ไม่ได้ส่งไปต่างประเทศค่ะ A ขายให้ B ที่เป็น Free zone ค่ะ

ถ้าสามารถทำได้ ชื่อที่นำเข้า ชื่อที่ส่งออก และชื่อที่ส่งเข้า Free zone เป็นชื่อเดียวกันได้หรือไม่ค่ะ

ADMIN โพสต์เมื่อวันอังคารที่ 24 กุมภาพันธ์ 2558, 15:15:21 (508 สัปดาห์ ก่อน)
#7 Top

ชื่อสินค้าที่นำเข้ามาซ่อม ปกติจะเป็นชื่อเดียวกับที่ส่งออก (หรือส่งไป Free Zone) ครับ

unknown[80] โพสต์เมื่อวันพุธที่ 25 กุมภาพันธ์ 2558, 09:27:31 (508 สัปดาห์ ก่อน)
#8 Top

ขอบคุณค่ะ ใช้แบบฟอร์มเดียวกับขอสต็อกวัตถุดิบเลยหรือไม่ค่ะ

ADMIN โพสต์เมื่อวันพุธที่ 25 กุมภาพันธ์ 2558, 15:32:08 (508 สัปดาห์ ก่อน)
#9 Top

การขออนุมัติปริมาณสต็อกสินค้าที่นำกลับเข้ามาซ่อม ใช้แบบฟอร์มเดียวกับการขอแก้ไขสต็อกวัตถุดิบตามปกติ

โดย group no. ให้กำหนดเป็น R00001 ..... ครับ

แก้ไขโดย ADMIN เมื่อวันพุธที่ 25 กุมภาพันธ์ 2558, 19:02:47
arunee โพสต์เมื่อวันพุธที่ 9 ธันวาคม 2558, 09:20:11 (467 สัปดาห์ ก่อน)
#10 Top

รบกวนสอบถามเพิ่มจากหัวข้อค่ะ,

1) การนำผลิตภัณฑ์ที่ผลิตและส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ และขอนำกลับเข้ามาซ่อมเพื่อส่งกลับออกไปอีกครั้ง โดยจะได้รับยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับผลิตภัณฑ์นั้น, วิธีการนี้เรียกว่าอย่างไรคะ

2) ในกรณีที่ไม่ได้ใช้สิทธิ BOI ในการส่งออกครั้งแรก จะสามารถใช้ยกเว้นอากรขาเข้าได้หรือไม่คะ

ADMIN โพสต์เมื่อวันพุธที่ 9 ธันวาคม 2558, 15:07:36 (467 สัปดาห์ ก่อน)
#11 Top

ตอบคำถามคุณ arunee ดังนี้ครับ

1. ถ้าเรียกรวมๆ ก็คือการขอนำผลิตภัณฑ์กลับเข้ามาซ่อม

แต่ถ้าจะพูดถึงการขอสั่งปล่อยยกเว้นภาษีอากร หรือการขออนุมัติบัญชีปริมาณสต็อก หรือการขอสูตรการผลิต ฯลฯ สำหรับผลิตภัณฑ์ที่นำกลับเข้ามาซ่อม ก็จะว่ากันเป็นเรื่องๆไปครับ

2. ใช้สิทธิได้ครับ การขอนำผลิตภัณฑ์กลับเข้ามาซ่อม ไม่จำเป็นต้องเป็นสินค้าที่ส่งออกไปโดยใช้สิทธิฯ 

หากเป็นไปตามเงื่อนไขต่อไปนี้ ก็อยู่ในข่ายที่จะขออนุมัติบัญชีปริมาณสต็อก และนำเข้ามาซ่อมโดยใช้สิทธิได้ คือ

- ต้องเป็นสินค้าที่ผลิตขึ้นตามโครงการที่ได้รับส่งเสริม
- ต้องเป็นสินค้าที่สามารถซ่อมได้
- ต้องไม่เป็นการรับจ้างซ่อม หรือเป็นการซ่อมสินค้าที่ผ่านการใช้งานแล้ว ครับ

แก้ไขโดย ADMIN เมื่อวันพุธที่ 9 ธันวาคม 2558, 15:16:58
arunee โพสต์เมื่อวันศุกร์ที่ 11 ธันวาคม 2558, 14:34:27 (467 สัปดาห์ ก่อน)
#12 Top

ขอบคุณค่ะ

ADMIN โพสต์เมื่อวันศุกร์ที่ 11 ธันวาคม 2558, 16:04:22 (467 สัปดาห์ ก่อน)
#13 Top

ยินดีครับ

Thif โพสต์เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 9 มีนาคม 2560, 12:02:13 (402 สัปดาห์ ก่อน)
#14 Top

รบกวนสอบถาม สินค้านำกลับเข้ามาซ่อมแซมเพื่อส่งออกไปค่่ะ

- กรณี บริษัท A เป็น  ได้ปิดโครงการไปแล้ว เมื่อปลายปี 59   และตอนนี้ลูกค้าแจ้งสินค้ามีปัญหาจะส่งสินค้ากลับคืนมาเพื่อซ่อมแซมและส่งออกไป (สินค้าที่ ลูกค้าใช้ไม่ได้เปิด Invoice ขายตั้งแต่ เดือนมิถุนายน 59 ก่อนปิดโครงการ ) บริษัทฯ A สามารถนำเข้ามาเพื่อโดยไม่เสียภาษี และผ่าน BOI ได้มั๊ยคะ 

- กรณี บริษัท A (non boi)  ขายสินค้าให้ ลูกค้า ต่างประเทศ โดย สลักหลัง ใบขน โอนสิทธิให้บริษัท B (BOI)    แต่สินค้าไม่ได้คุณภาพลูกค้าแจ้งคืนสินค้า รบกวนสอบถามว่าบริษัท A  ให้ บริษัท B ( BOI) รับภาระในการนำสินค้ากลับมาซ่อมแซมได้มั๊ยคะ

****ขั้นตอนของทั้ง 2 บริษัท มีดังนี้   บริษัท A ได้โอนวัตถุดิบทั้ง หมดไปให้บริษัท B ไปผลิต ก่อนปิดโครงการ // ปัจจุบัน บ.B ได้ขายสินค้า ให้ บ.A ( Non ฺBOI) ซึ่ง บริษัท A เป็นผู้ส่งออก โดยการสลักหลังใบขนขาออก โอนสิทธิ์ ให้บริษัท B นำมาตัดบัญชีวัตถุดิบ)

ADMIN โพสต์เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 9 มีนาคม 2560, 14:37:34 (402 สัปดาห์ ก่อน)
#15 Top

ตอบคำถามตามนี้ครับ

1. หากบริษัท A ปิดโครงการ (คงหมายถึงสิ้นสุดสภาพการเป็นผู้ได้รับส่งเสริมแล้ว) ก็ไม่สามารถใช้สิทธิใดๆได้อีก
จึงไม่สามารถใช้สิทธิยกเว้นอากรสินค้าที่นำกลับเข้ามาซ่อมได้

2.A (Non BOI) ซื้อสินค้าจาก B (BOI) ไปส่งออก แต่สินค้าไม่ได้คุณภาพ ต้องนำกลับเข้ามาซ่อม
B สามารถนำเข้ามาโดยใช้สิทธิยกเว้นอากรของ B ได้
เนื่องจากเป็นการซ่อมสินค้าที่ B เป็นผู้ผลิตขึ้นเอง ไม่ใช่การรับจ้างซ่อมสินค้าที่ผลิตโดยผู้อื่นครับ

Thif โพสต์เมื่อวันจันทร์ที่ 13 มีนาคม 2560, 15:51:17 (402 สัปดาห์ ก่อน)
#16 Top

ขอบคุณมากค่ะ

<< ก่อนหน้า       1       ถัดไป >>

ถ้าหากคุณต้องการโพสต์ในกระทู้นี้ กรุณา ลงชื่อเข้าใช้ หรือ ลงทะเบียนใช้งานเว็บบอร์ด