GUEST โพสต์เมื่อวันศุกร์ที่ 15 กรกฏาคม 2559, 17:43:59 (436 สัปดาห์ ก่อน)
|
บริษัทได้รับการส่งเสริม BOI ผลิตขิ้นส่วนสำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น LEAD FRAME กรณีที่บริษัทอื่นนำวัตถุดิบมาให้เราผลิตตามกระบวนการที่บริษัทฯ ได้รับอนุมัติตามบัตรส่งเสริม บริษัทผู้ว่าจ้างสามารถหัก ณ ที่จ่าย 3% กับบริษัทเราได้หรือไม่ อย่างไร (กรณีวัตถุดิบไม่ใช่ของเรา) บริษัท โร.................... |
ADMIN โพสต์เมื่อวันศุกร์ที่ 15 กรกฏาคม 2559, 17:53:32 (436 สัปดาห์ ก่อน)
|
รายได้จากการรับจ้างผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้รับส่งเสริม โดยมีขั้นตอนการผลิตครบถ้วนตามโครงการที่ได้รับส่งเสริม ถือเป็นรายได้ตามโครงการที่ได้รับส่งเสริม ซึ่งสามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ดังนั้น บริษัทผู้ว่าจ้างจึงไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% ก็ได้ โดยใช้สำเนาบัตรส่งเสริมของผู้รับจ้างเป็นหลักฐานในการไม่หักภาษี ณ ที่จ่าย กรณีเป็นการรับจ้างผลิตเช่นนี้ หากบริษัทผู้รับจ้างเป็นนิติบุคคลต่างชาติ จะต้องยื่นขอหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว จากสำนักบริหารการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ให้ถูกต้องด้วยครับ |
sujang โพสต์เมื่อวันเสาร์ที่ 23 กรกฏาคม 2559, 17:24:43 (435 สัปดาห์ ก่อน)
|
บริษัท ผลิตชิ้นส่วนสำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น LEAD FRAME ซึ่งมีขั้นตอนการผลิตที่ได้รับอนุมัติ ดังนี้
คำถาม กรณีที่บริษัท A ซื้อ Material จาก บริษัท B แล้วให้ บริษัท B จัดส่ง Material ให้กับทางบริษัทเรา เพื่อทำการผลิตสินค้า LEAD FRAME ตามขั้นตอนที่ได้รับอนุมัติ โดยผ่านขั้นตอน 1, 4 และที่ 5 ดังนั้น บริษัท B (ผู้ว่าจ้าง) สามารถ หักภาษี ณ ที่จ่าย 3% กับทางบริษัท เราได้หรือไม่ อย่างไร และถือเป็นการรับจ้างผลิตหรือไม่ เนื่องจากบริษัทยังได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ 8 ปี อยู่ (ซึ่งเราขาย Product เป็น NON-BOI ให้ A) แต่ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตตรงกับทีได้รับส่งเสริม คือ LEAD FRAME แบบนี้เข้าข่ายรับจ้างหรือไม่ ทางบริษัทฯต้องดำเนินการอย่างไรเกี่ยวกับบัตรส่งเสริม หรือไม่ต้องแก้ไขใดๆ
แก้ไขโดย sujang เมื่อวันอังคารที่ 26 กรกฏาคม 2559, 17:21:39
|
ADMIN โพสต์เมื่อวันจันทร์ที่ 25 กรกฏาคม 2559, 09:31:09 (435 สัปดาห์ ก่อน)
|
คำถามน่าจะให้ข้อมูลในครบ (กรรมวิธีผลิตมีเพียง 3 ขั้นตอน แต่จะรับจ้างผลิตขั้นตอนที่ 1,4,5) จึงขอตอบเท่าที่ได้รับข้อมูลคือ 1. กรณีที่สอบถาม เป็นการรับจ้างผลิต 2. การรับจ้างผลิตสินค้าชนิดเดียวกับที่ได้รับส่งเสริม โดยมีขั้นตอนการผลิตครบถ้วนตามที่ได้รับส่งเสริม สามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ และผู้ว่าจ้างไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% โดยผู้ได้รับการส่งเสริมจะต้องส่งสำเนาบัตรส่งเสริมให้ผู้ว่าจ้างเพื่อเป็นหลักฐาน 3. นิติบุคคลต่างชาติที่ประกอบธุรกิจรับจ้างผลิตจะต้องได้รับหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว จากสำนักบริหารการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ด้วย ครับ |
sujang โพสต์เมื่อวันจันทร์ที่ 25 กรกฏาคม 2559, 09:55:01 (435 สัปดาห์ ก่อน)
|
ขออภัยให้ข้อมูลไม่ครบขั้นตอนการผลิตคะ 1. นำแถบโลหะ มาปั๊มขึ้นรูปตามแบบที่กำหนด 2. บางส่วนชุบเคลือบผิว บางส่วนนำไปว่าจ้างผู้อื่นชุบเคลือบผิว 3. บางส่วนล้างชิ้นงาน 4. ตัดเป็นชิ้น หรือม้วนเป็นแถบ ตามความต้องการของลูกค้า 5. ตรวจสอบ เตรียมจำหน่าย สอบถามเพิ่มเติมคะ ทางบริษัทต้องแก้ไขบัตรส่งเสริมหรือไม่คะเพิ่มขั้นตอน การรับจ้าง เนื่องจากเราทำครบตามกระบวนการที่ได้รับการส่งเสริม หรือแจ้งแค่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
|
ADMIN โพสต์เมื่อวันจันทร์ที่ 25 กรกฏาคม 2559, 10:30:05 (435 สัปดาห์ ก่อน)
|
เนื่องจากกรรมวิธีผลิตที่ได้รับอนุมัติ เปิดกว้างว่าขั้นตอนที่ 2 และ 3 จะมีการผลิตหรือไม่ก็ได้ ดังนั้น การผลิตเฉพาะขั้นตอนที่ 1,4,5 จึงถือว่าครบขั้นตอนการผลิต การรับจ้างผลิตตามขั้นตอนที่ 1,4,5 จึงครบขั้นตอนที่ได้รับส่งเสริม ไม่ต้องขอแก้ไขบัตร ให้ขออนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจ เพื่อขอรับจ้างผลิตสินค้าตามที่ได้รับการส่งเสริมก็พอ ครับ |
sujang โพสต์เมื่อวันจันทร์ที่ 25 กรกฏาคม 2559, 10:54:18 (435 สัปดาห์ ก่อน)
|
ขอบคุณมากคะ |
<< ก่อนหน้า 1 ถัดไป >>