GUEST โพสต์เมื่อวันอังคารที่ 12 เมษายน 2559, 10:08:10 (450 สัปดาห์ ก่อน)
|
1. บริษัทฯได้รับบัตรส่งเสริมแล้ว แต่ไม่ได้ยื่นขอสิทธิประโยชน์ในเรื่องวิจัยและพัฒนา หากมีการลงทุนเพิ่มในด้านนี้ ทั้งในเรื่อง ค่าใช้จ่ายต่างๆและการขอจดสิทธิบัตร จะนำมาเพิ่มสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง ขอทราบรายละเอียดค่ะ
2. บัญชีนวัตกรรมไทย ของ สวทช.เกี่ยวข้องกับสิทธิประโยชน์ของ BOI หรือไม่ อย่างไร
บริษัท แว.............
|
ADMIN โพสต์เมื่อวันจันทร์ที่ 18 เมษายน 2559, 09:10:03 (449 สัปดาห์ ก่อน)
#1
|
1. การลงทุนทำวิจัยและพัฒนาสำหรับกิจการโรงงานที่ดำเนินการอยู่เดิม
สามารถขอรับส่งเสริมได้ 2 กรณีคือ
1.1 ขอรับส่งเสริมเป็นโครงการใหม่ ประเภท 7.11 กิจการวิจัยและพัฒนา
- ต้องเป็นการวิจัยพัฒนาจนถึงขั้นจดสิทธิบัตรใหม่
- จากนั้นนำผลวิจัยพัฒนานั้นไปทำการผลิตเชิงพาณิชย์ โดยจะใช้กิจการโรงงานที่ดำเนินการอยู่เดิมก็ได้
- รายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นผลงานจาก R&D นี้ ถือเป็นรายได้ที่สามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ในโครงการ R&D
- จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ 8 ปี โดยไม่กำหนดวงเงินสูงสุด (ตามประเภท A1)
http://www.boi.go.th/upload/Section7th_90697.pdf
ยกตัวอย่างเช่น บริษัท A ได้รับส่งเสริมโครงการที่ 1 ผลิตชิ้นส่วนพลาสติก คือ A1
ต่อมาได้ขอรับส่งเสริมโครงการที่ 2 คือกิจการ R&D และได้วิจัยพัฒนาและจดสิทธิบัตรผลิตภัณฑ์ใหม่คือ ชิ้นส่วนพลาสติก A2
ดังนั้น เมื่อโครงการ R&D นำผลวิจัยพัฒนาไปให้โครงการที่ 1 ผลิต A2 และจำหน่ายเชิงพาณิชย์
รายได้จากการจำหน่าย A2 จึงถือเป็นรายได้ที่จะได้รับยกเว้นภาษีภายใต้โครงการที่ 2 (R&D)
ส่วนรายได้จากการจำหน่าย A1 ที่ดำเนินการอยู่เดิม จะยังคงเป็นรายได้ของโครงการที่ 1 ตามเดิม
1.2 ขอรับส่งเสริมเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต
- เป็นการวิจัยพัฒนาหรือออกแบบทางวิศวกรรมเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต เช่น พัฒนาคุณสมบัติสินค้า หรือพัฒนาสินค้ารุ่นใหม่ หรือออกแบบกระบวนการผลิตสินค้าให้มีประสิทธิภาพ เป็นต้น
- ขอรับส่งเสริมตามประกาศ กกท ที่ 1/2557 เรื่อง มาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต http://www.faq108.co.th/boi/announcement/pdf/2557_01.pdf
และคำชี้แจง http://www.faq108.co.th/boi/announcement/pdf/2559_c02.pdf
- จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ 3 ปี ไม่เกิน 50% ของมูลค่าเงินลงทุน R&D
- ต้องยื่นคำขอรับส่งเสริมภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2560
- โครงการเดิมที่จะขอปรับปรุงประสิทธืภาพการผลิต ต้องไม่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษี หรือสิ้นสุดสิทธิยกเว้นภาษีไปแล้ว
ตัวอย่างเช่น บริษัท B ได้รับส่งเสริมผลิตชิ้นส่วนพลาสติก B1 และสิ้นสุดสิทธิยกเว้นภาษีไปแล้ว
ต่อมาได้ขอรับส่งเสริมทำ R&D เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต ตามประกาศ กกท ที่ 1/2557
และได้ทำการวิจัยพัฒนา เพื่อพัฒนาคุณสมบัติสินค้า หรือพัฒนาสินค้ารุ่นใหม่ หรือปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต ตามกระบวนการที่ BOI เห็นชอบ
กรณีนี้ รายได้จากการจำหน่ายชิ้นส่วนพลาสติก B1 ซึ่งเดิมสิ้นสุดสิทธิการยกเว้นภาษีไปแล้ว จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลในวงเงิน 50% ของมูลค่าการลงทุน R&D เป็นเวลา 3 ปี
2. บัญชีนวัตกรรมไทยเป็นคนละมาตรการกัน ไม่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการลงทุนของ BOI
บริษัทจะรับสิทธิทั้ง 2 มาตรการก็ไม่มีปัญหาอะไรครับ
|
<< ก่อนหน้า 1 ถัดไป >>