KMPA โพสต์เมื่อวันศุกร์ที่ 24 กรกฏาคม 2558, 13:17:43 (487 สัปดาห์ ก่อน)
Top

ทางบริษัทได้รับการส่งเสริมกิจการประเภท IPO และได้เปิดดำเนินการเรียบร้อยแล้ว

และทางบริษัทอยากได้ ITC เพิ่มเติม หรือเปลี่ยนจาก IPO แต่บริษัทอยากเปรียบเทียบข้อดีและขอเสียของทั้ง2กิจการก่อนคะ

ดังนั้น ทางบริษัทอยากทราบว่า จะหาข้อมูลเรื่อง ITC ได้จากแหล่งใด

เพราะในเวปไซต์ของ BOI ไม่มีข้อมูลเลยค่ะ  และดิฉันได้ไปที่ BOI สำนักงานใหญ่แล้ว ก็ไม่มีข้อมูลเป็นลายลักษณ์อักษรให้เช่นกัน

 

ขอบคุณคะ

ADMIN โพสต์เมื่อวันศุกร์ที่ 24 กรกฏาคม 2558, 16:50:10 (487 สัปดาห์ ก่อน)
#1 Top

เปรียบเทียบได้ตามนี้ครับ

  IPO ITC
1.ลักษณะธุรกิจ ต้องจัดหาวัตถุดิบ ชิ้นส่วน มาเก็บในคลังก่อน จึงทำธุรกิจแบบ in-in, in-out, out-in ได้ แต่ไม่สามารถทำแบบ out-out ได้ ไม่ต้องจัดหาสินค้ามาเก็บในคลัง จึงสามารถซื้อขายแบบ out-out เช่น ซื้อชิ้นส่วนจากจีนไปขายญี่ปุ่น โดยไม่ต้องนำเข้ามาพักเก็บประเทศไทย
2.การลงทุน ต้องมีคลังสินค้า และระบบคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยเพื่อจัดการสินค้าในคลัง ไม่ต้องมีคลังสินค้าก็ได้
3.แหล่งจัดซื้อ ต้องมีแหล่งจัดซื้อในประเทศ ไม่ต้องมีแหล่งจัดซื้อในประเทศก็ได้
4.สินค้าที่จัดซื้อ ต้องเป็นวัตถุดิบ ชิ้นส่วน หรือส่วนประกอบ เป็นสินค้าสำเร็จรูปก็ได้
5.การว่าจ้าง จะมีขั้นตอนการว่าจ้างทอดเดียวก็ได้ เช่น นำวัตถุดิบไปว่าจ้างตัดตามขนาด เป็นต้น ปัจจุบันเข้าใจว่าไม่อนุญาตให้มีขั้นตอนการว่าจ้าง
6.อื่นๆ 1.ต้องเป็นการค้าส่งในประเทศหรือส่งออกต่างประเทศ
2.ต้องไม่เข้าข่ายนายหน้าหรือตัวแทน
เงื่อนไขเหมือนเดิม

หากกิจการ IPO ที่ทำอยู่เดิม ไม่มีขั้นตอนการว่าจ้าง ก็น่าจะขอเปลี่ยนประเภทเป็น ITC เพราะเงื่อนไขจะยืดหยุ่น และขอบเขตธุรกิจจะกว้างกว่าเดิมมากครับ

yamagatacasio โพสต์เมื่อวันพุธที่ 19 สิงหาคม 2558, 15:57:34 (483 สัปดาห์ ก่อน)
#2 Top

สวัสดีค่ะ

ขอ Update การว่าจ้างของ ITC ค่ะ ทราบจากเจ้าหน้าที่บีโอไอว่า ขั้นตอนการว่าจ้างของ ITC สามารถทำได้แล้วค่ะ แต่ต้องลองยื่นเข้าไปให้เจ้าหน้าที่พิจารณาดูอีกที

อยากทราบว่าเจ้าหน้าที่ ที่พิจารณาคนสุดท้ายเรื่องนี้ แค่ระดับผอ หรือ ท่านที่ปรึกษากองคะ

ขอบคุณค่ะ

แก้ไขโดย ADMIN เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม 2558, 15:25:23
ADMIN โพสต์เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม 2558, 08:38:17 (483 สัปดาห์ ก่อน)
#3 Top

ข้อมูลเมื่อปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา

BOI ยังไม่อนุญาตให้กิจการ ITC ทำการว่าจ้างผลิตได้

จะตรวจสอบข้อมูลล่าสุด และแจ้งให้ทราบอีกครั้งครับ

yamagatacasio โพสต์เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม 2558, 09:47:29 (483 สัปดาห์ ก่อน)
#4 Top

  ขอบคุณค่ะ ลองสอบถามคุณวรวรรณ เจ้าหน้าที่กอง 4  ที่ดูแลกิจการ IPO ค่ะ

  เพิ่มเติมค่ะ คือ อยากทราบเงื่อนไขการว่าจ้างของ ITC อย่างละเอียดด้วยค่ะ ว่าเป็นอย่างไรค่ะ แบบไหนทำได้ แบบไหนทำไม่ได้อะค่ะ

                 ขอบคุณมากค่ะ

แก้ไขโดย ADMIN เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม 2558, 15:15:47
ADMIN โพสต์เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม 2558, 15:24:36 (482 สัปดาห์ ก่อน)
#5 Top

1. กิจการ ITC ปัจจุบันอนุญาตให้มีขั้นตอนการว่าจ้างได้ โดยจะต้องเป็นการว่าจ้างทอดเดียว เช่น การจ้างตัดวัตถุดิบจากแผ่นใหญ่เป็นแผ่นเล็ก ซึ่งอาจรวมให้ถึงการเจาะรู หรือทาสี เป็นต้น แต่ทั้งนี้ จะต้องพิจารณารายละเอียดเป็นกรณีๆไป เช่น หากเป็นการว่าจ้างแปรรูปจนไม่อยู่ในสภาพเดิม หรือมีกระบวนการผลิตที่ซับซ้อนเกินไป อาจจะไม่ได้รับอนุญาต

2. การแก้ไขกรรมวิธีการผลิต ที่ไม่มีผลกระทบต่อกำลังผลิตเดิม เป็นอำนาจของรองเลขาธิการและที่ปรึกษาการลงทุน ที่ได้รับมอบอำนาจจากเลขาธิการ ครับ

unknown[80] โพสต์เมื่อวันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม 2558, 16:17:30 (482 สัปดาห์ ก่อน)
#6 Top

ไม่ทราบจะหาข้อมูล ของหลักเกณฑ์ สิทธิประโยชน์ และเงิื่อนไขต่างๆของ ITC ไม่ทราบว่าจะหาได้จากที่ไหนค่ะ เพราะหาที่เวป BOi ไม่มีข้อมูลค่ะ ขอบคุณค่ะ

ADMIN โพสต์เมื่อวันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม 2558, 09:15:39 (482 สัปดาห์ ก่อน)
#7 Top

สิทธิประโยชน์และเงื่อนไขของ ITC มีเท่าที่กำหนดอยู่ในประเภทกิจการ คือ

- ได้รับสิทธิตามประเภท B1 (ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร และอากรขาเข้าวัตถุดิบเพื่อการส่งออก)

- และสิทธิประโยชน์ด้าน non-Tax เช่น การถือครองที่ดิน ช่างฝีมือ เป็นต้น

เงื่อนไขต้องมีทุนจดทะเบียนเรียกชำระไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท

รายละเอียดนอกจากนี้เข้าใจว่าไม่มีประกาศที่เป็นทางการ แตอาจดูข้อมูลได้จากเอกสารสัมมนาของ BOI ตาม link นี้ครับ

yamagatacasio โพสต์เมื่อวันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม 2558, 10:53:36 (482 สัปดาห์ ก่อน)
#8 Top

ขอบคุณค่ะ อยากสอบถามต่อเรื่อง การว่าจ้างผลิต ITC ค่ะ ถ้าธุรกิจ IPO เดิมที่ได้รับอนุมัติจากบีโอไอให้ว่าจ้างได้ (ตามขั้นตอนการผลิตที่ชี้แจงโครงการตอนยื่นคำขอ)

ถ้าเปลี่ยนเป็น ITC เคยได้รับอนุมัติการว่าจ้างอย่างไรตอนเป็น IPO  ก็สามารถทำการว่าจ้างแบบนั้นได้เช่นกันใช่่ไหมคะ ?

 

                ขอบคุณค่ะ

 

ADMIN โพสต์เมื่อวันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม 2558, 13:44:15 (482 สัปดาห์ ก่อน)
#9 Top

โดยหลักการ น่าจะเป็นเช่นนั้นครับ

yamagatacasio โพสต์เมื่อวันจันทร์ที่ 7 กันยายน 2558, 09:16:59 (481 สัปดาห์ ก่อน)
#10 Top

  ขอบคุณค่ะ

ADMIN โพสต์เมื่อวันจันทร์ที่ 7 กันยายน 2558, 11:44:49 (481 สัปดาห์ ก่อน)
#11 Top

ยินดีครับ

Kultida โพสต์เมื่อวันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม 2558, 13:19:56 (475 สัปดาห์ ก่อน)
#12 Top

ทางบริษัทได้รับการส่งเสริมกิจการประเภท IPO ตามบัตรส่งเสริม เลขที่ 1120/2556 บัตรส่งเสริมลงวันที่ 28 มกราคม 2556 ค่ะ และตอนนี้มีการ แจ้งยืยยันการดำเนินการ ปี่ที่ 2 ไปเรียบร้อยแล้วค่ะ แต่ทางผู้บริหารสนใจอยากให้เปลี่ยนกิจการไปเป็น ITC เนื่องจากข้อกำหนดที่และเงื่อนไขน่าสนใจกว่า

จึงอยากรบกวนขอทราบขั้นตอนคร่าวๆ ว่าจะสามารถกระทำได้ไหม และถ้าทำได้อยากขอข้อมูลเพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาเพิ่มเติม และจัดเตรียมเอกสารเพื่อดำเนินการเปลี่ยนแปลงค่ะ

1.จะมีขั้นตอนคร่าวๆ อย่างไรบ้าง

2.มีเอกสารอะไรที่เกี่ยวข้องบ้าง

 

ADMIN โพสต์เมื่อวันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม 2558, 14:06:02 (475 สัปดาห์ ก่อน)
#13 Top

1. กิจการ IPO สามารถยื่นแบบคำขอแก้ไขโครงการ เพื่อขอเปลี่ยนประเภทกิจการที่ได้รับส่งเสริมเป็นประเภท ITC ได้

2. เอกสารที่ต้องใช้คือ แบบคำขอแก้ไขโครงการ เอกสารแนบประกอบคำขอแก้ไข (จัดทำขึ้นเอง) และสำเนางบการเงิน

โดยควรเตรียมข้อมูลเปรียบเทียบโครงการก่อนและหลังแก้ไขว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร โดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับโครงการโดยตรง เช่น รูปแบบและวิธีการจัดซื้อจัดจำหน่าย ประเภทและชนิดของสินค้า แผนการตลาด แผนการลงทุน แหล่งจัดซื้อ แหล่งจัดจำหน่าย ยอดขาย การจ้างงาน ระบบซอฟต์แวร์ที่ใช้บริหารจัดการข้อมูลและคำสั่งซื้อขาย เป็นต้น ครับ

Kultida โพสต์เมื่อวันพุธที่ 4 พฤศจิกายน 2558, 11:48:42 (472 สัปดาห์ ก่อน)
#14 Top

รบกวนถามเพิ่มเติมอีก  1 ข้อค่ะ

ตอนขอสิทธิ์ IPO ทางบริษัท ลง ทุนซื้อ รถยนต์ 1 คัน เพื่อให้เป็นไปตามเงื่อนไขเฉพาะโครงการ คือ จะต้องมีขนาดการลงทุน (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) ไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท

ถ้ายื่นขอแก้ไขโครงการ เป็น ITC  เราจะใช้ขนาดการลงทุนอันเดิมได้ไหมคะ?

 

ADMIN โพสต์เมื่อวันพุธที่ 4 พฤศจิกายน 2558, 16:39:20 (472 สัปดาห์ ก่อน)
#15 Top

1. รถยนต์ถือเป็นสินทรัพย์ที่นำมูลค่ามารวมคำนวณเป็นขนาดการลงทุนของโครงการได้ ตามประกาศ สกท ที่ ป.1/2545 เรื่อง การกำหนดความหมายรายการเงินลงทุน
แต่ต้องเป็นกรณีของโครงการแรกของบริษัทที่ตั้งขึ้นใหม่เท่านั้น

2. หากเข้าข่ายตามข้อ 1 คือเป็นโครงการแรกของบริษัทที่ตั้งขึ้นใหม่ แม้ต่อมาจะขอเปลี่ยนประเภทกิจการจาก IPO เป็น ITC ก็ยังนับมูลค่ารถยนต์เป็นขนาดการลงทุนของกิจการ ITC ครับ

Kultida โพสต์เมื่อวันอังคารที่ 10 พฤศจิกายน 2558, 10:41:37 (472 สัปดาห์ ก่อน)
#16 Top

ขอบคุณมากๆนะคะ

ADMIN โพสต์เมื่อวันอังคารที่ 10 พฤศจิกายน 2558, 11:43:49 (472 สัปดาห์ ก่อน)
#17 Top

ยินดีครับ

<< ก่อนหน้า       1       ถัดไป >>

ถ้าหากคุณต้องการโพสต์ในกระทู้นี้ กรุณา ลงชื่อเข้าใช้ หรือ ลงทะเบียนใช้งานเว็บบอร์ด