040266 โพสต์เมื่อวันศุกร์ที่ 5 มีนาคม 2564, 16:24:52 (193 สัปดาห์ ก่อน)
|
กรณีเรานำเข้าเครื่องจักรโดยใช้สิทธิ BOI นั้นเข้ามาผลิตชิ้นงานเเละส่งออกต่างประเทศ เเต่มีชิ้นงานบางส่วนซื้อMatมาฉีดเครื่องจักรที่ได้รับการส่งเสริม ประกอบชิ้นงานที่ซื้อในประเทศ เเละดำเนินการส่งออก เวลาทำใบขน เราระบุบัตรส่งเสริม เเต่ไม่ได้นำมาตัดบัญชี เพราะ ผลิตภัณฑ์ ไม่ได้เข้าเงื่อนไขของโครง การเเละไม่สามารถขอสูตรได้ ที่ระบุในใบขนขาออกเพราะว่าใช้เครื่องจักรBOI ฉีด เลยระบุ 1. จำเป็นหรือไม่คะต้องระบุบัตรส่งเสริมในใบขนขาออก 2.จะมีผลต่อ capa เครื่องจักรในการคำนวนกำลังการผลิตต่อปีหรือไม่ หรือมีผลกระทบด้านใดคะ |
040266 โพสต์เมื่อวันศุกร์ที่ 5 มีนาคม 2564, 16:25:48 (193 สัปดาห์ ก่อน)
|
เพิ่มเติมคะ Mat ก็ซื้อในประเทศนะคะ |
ADMIN โพสต์เมื่อวันศุกร์ที่ 5 มีนาคม 2564, 16:56:06 (193 สัปดาห์ ก่อน)
|
ในบัตรส่งเสริมมีเงื่อนไขระบุว่า "จะต้องใช้เครื่องจักรที่ได้รับอนุมัติยกเว้นหรือลดหย่อนอากรขาเข้าเฉพาะกิจการตามบัตรส่งเสริม" กรณีที่สอบถาม บริษัทนำเครื่องจักรที่ได้รับสิทธิ BOI ไปผลิตสินค้าอื่นที่ไม่ได้รับการส่งเสริม จึงเป็นการขัดกับเงื่อนไขการใช้สิทธิประโยชน์เครื่องจักรตามที่ระบุในบัตรส่งเสริม หากบริษัทไม่สามารถแก้ไขโครงการ เพื่อให้การผลิตสินค้าดังกล่าว เป็นสินค้าตามโครงการที่ได้รับส่งเสริม ขอแนะนำให้ยุติการนำเครื่องจักร BOI ไปผลิตสินค้าดังกล่าว เนื่องจากเป็นการขัดกับเงื่อนไขในบัตรส่งเสริม และอาจต้องชำระภาษีอากรและค่าปรับสำหรับเครื่องจักรนั้น กรณีที่บริษัทได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการเต็มโครงการจาก BOI แล้ว บริษัทสามารถยื่นขออนุญาตนำเครื่องจักรไปใช้เพื่อการอื่น เช่น เพื่อผลิตสินค้าหรือชิ้นส่วน ... ซึ่ง BOI จะพิจารณาความเหมาะสม และอนุญาตเป็นกรณีๆ ไป ครับ |
040266 โพสต์เมื่อวันจันทร์ที่ 8 มีนาคม 2564, 08:30:40 (193 สัปดาห์ ก่อน)
|
ขอบคุณคะ เเล้วเรานำเข้าเครื่องจักรด้วยสิทธิประโยชน์BOiงานที่ผลิตจากเครื่องจักร์นี้ก็เป็นBOi เงื่อนไขคือ ฉีดบางส่วนซื้อบางส่วนและประกอบ เเต่เราซื้อ Material ในประเทศคือ NONBOI เเล้วส่งออก คำถามคะ 1. เวลาส่งออกจำเป็นต้องระบุบัตรส่งเสริมหรือไม่คะ หรือต้องทำสูตรการผลิตไหมคะเพราะเราซื้อมาเป็นMAT NONBOI |
ADMIN โพสต์เมื่อวันจันทร์ที่ 8 มีนาคม 2564, 12:18:52 (193 สัปดาห์ ก่อน)
|
สินค้าที่ใช้ชื่อผลิตภัณฑ์ตามที่ระบุในบัตรส่งเสริม และมีกรรมวิธีการผลิตครบถ้วนตามที่ได้รับการส่งเสริม ถือเป็นสินค้าตามโครงการที่ได้รับส่งเสริม สามารถใช้สิทธิประโยชน์ต่างๆได้ กรณีที่บริษัทใช้วัตถุดิบซึ่งซื้อจากบริษัทในประเทศ โดยไม่ต้องโอนสิทธิตัดบัญชีให้กับผู้จำหน่าย ไม่จำเป็นต้องระบุในใบขนขาออกว่า "ใช้สิทธิ BOI" เนื่องจากไม่ต้องนำใบขนดังกล่าวมาตัดบัญชีวัตถุดิบ ครับ |
040266 โพสต์เมื่อวันจันทร์ที่ 8 มีนาคม 2564, 12:48:30 (193 สัปดาห์ ก่อน)
|
ชอบคุณคะ ยอดส่งออกจำนวนที่ส่งที่ไม่ต้องระบุสิทธิBOI อันนี้เอามาคำนวนสิ้นปี รายได้ เพื่อคิดภาษีเงินได้ตามเงื่อนไข ไหมคะ แก้ไขโดย 040266 เมื่อวันจันทร์ที่ 8 มีนาคม 2564, 13:29:49
|
ADMIN โพสต์เมื่อวันจันทร์ที่ 8 มีนาคม 2564, 14:47:08 (193 สัปดาห์ ก่อน)
|
ยอดขายสินค้าที่ระบุชื่อผลิตภัณฑ์ตามบัตรส่งเสริม และผลิตตามกรรมวืธีที่ได้รับอนุมัติ สามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ แม้จะไม่ได้ผลิตโดยวัตถุดิบที่ใช้สิทธิมาตรา 36 ไม่เกี่ยวข้องใดๆ กับการระบุสิทธิ BOI ในใบขนสินค้าขาออก ครับ |
040266 โพสต์เมื่อวันเสาร์ที่ 15 มกราคม 2565, 16:52:57 (148 สัปดาห์ ก่อน)
|
กรณี รายการเครื่องจักร ที่อยู่ในระบบ EMT และ ระบบเดิม MCTS หมายความว่า ในโครงการนั้น มีรายการเครื่องจักรตามข้อมูลของบริษัท ที่นำเข้ามาภายใต้สิทธิ bOI ใช่ไหมคะ ทางเจ้าหน้าที่จะดูข้อมูลรายการเครื่องจักรจาก 2 ระบบข้างต้นใช่ไหมคะว่ามีบัญชีรายการอยู่เท่าไหร่เหลือเท่าไหร่จากนี้ใช่ไหมคะ ถ้านอกเหนือจากนี้เเสดงว่า อาจะจำหน่ายหรือส่งคืนหรือชำระภาษีเข้ามา
|
ADMIN โพสต์เมื่อวันจันทร์ที่ 17 มกราคม 2565, 13:06:38 (148 สัปดาห์ ก่อน)
|
BOI ได้กำหนดวิธีการใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร จากเดิมที่เก็บข้อมูลและเอกสารหลักฐานต่างๆ ด้วยกระดาษ มาเป็นเก็บข้อมูลบนฐานข้อมูลระบบ MCTS (ยื่นข้อมูลด้วย Diskette) ประมาณปี 2544 และต่อมาพัฒนาเป็นระบบ eMT (ยื่นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต) ประมาณปี 2554 เนื่องจากการพัฒนาระบบแต่ละครั้ง มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างฐานข้อมูล ดังนั้น ในช่วงรอยต่อขอการปรับเปลี่ยนระบบ เครื่องจักรที่ได้นำเข้าโดยใช้สิทธิยกเว้นอากรแล้ว จะยังคงเก็บข้อมูลไว้ในระบบเดิม แต่เครื่องจักรที่ยังไม่ได้ใช้สิทธิ จะอนุมัติสั่งปล่อยด้วยระบบใหม่ ทำให้ในบางกรณี โครงการ 1 โครงการ จึงอาจจะมีการสั่งปล่อยเครื่องจักรในทั้ง 2 ระบบ ก็เป็นไปได้ ประเด็นที่ต้องการสอบถาม หมายถึงในกรณีใด ช่วยระบุให้ชัดเจนด้วย หรือหากเป็นเรื่องการจำหน่าย การส่งคืน ช่วยแยกเป็นคำถามใหม่ในหัวข้อนั้นๆ ด้วย แต่ปกติ จนท BOI จะไม่ใช่เป็นฝ่ายที่จะตรวจสอบบัญชีรายการเครื่องจักรของบริษัท เนื่องจาก จนท จะพิจารณาตามคำร้องที่บริษัทยื่นขอดำเนินการเกี่ยวกับเครื่องจักรเป็นครั้งๆไป ครับ |
040266 โพสต์เมื่อวันอังคารที่ 18 มกราคม 2565, 08:46:30 (148 สัปดาห์ ก่อน)
|
ต้องขออภัยคะ ที่ถามไม่ชัดเจน พอดีหนูมารับช่วงต่องานเเละพบว่าโครงการได้บัตรส่งเสริม เป็นโครงการที่รับโอนมาจากบริษัทในเครือเดียวกัน และได้ตรวจสอบพบว่า มีเอกสารการนำเข้าเครื่องจักรภายใต้ BOI ตั้งเเต่เปิดโครงการ เมื่อ 20 กว่าปีเเล้วคะ เอกสารบางชุด เลขอนุมัติ มีระบบ MCTS และ EMT แแต่บางชุดไม่มีในทั้ง 2 ระบบ เลยสางสัยว่า ยังอยู่ในเงื่อนไขรายการข้อมูลเครื่องจักรหรือไม่คะ ตัวอย่างนะคะ เลขที่ อก0907/ศ.จ./509941 ลว.20 กพ.2546 ตามบัตรส่งเสริม 7026/2545(13-1674/2538 ) ลว.26 พย.2545 เเต่ ณ.ปัจจุบัตรบัตรที่ได้โอนมา คือ 1674/2538 ลว. 4 กย. 2538 คะ |
040266 โพสต์เมื่อวันอังคารที่ 18 มกราคม 2565, 08:56:50 (148 สัปดาห์ ก่อน)
|
เราจะยึดว่า ในข้อมูล MCTS และ EMT คือเครื่องจักรในฐานระบบของบัตร 1674/2538 ลว. 4 กย. 2538 ที่เหลืออยุ่ใช่ไหมคะ ถ้าไม่มีในระบบนี้ ก็แสดงว่าไม่ใช่เเล้วถูกต้องไหมคะ |
ADMIN โพสต์เมื่อวันอังคารที่ 18 มกราคม 2565, 10:25:27 (148 สัปดาห์ ก่อน)
|
ตามหลักการจะต้องยืนยันการใช้สิทธิตามข้อเท็จจริง เนื่องจากการใช้สิทธิสั่งปล่อยเครื่องจักร อาจมีทั้งกรณีที่ดำเนินการภายใต้ระบบ eMT, MCTS และหนังสืออนุมัติสั่งปล่อย (กรณีสั่งปล่อยก่อนเริ่มใช้ระบบ MCTS) ก็ได้ กรณีเป็นการสั่งปล่อยตามหนังสืออนุมัติ ที่ไม่มีข้อมูลในระบบ eMT บริษัทสามารถยื่นขอตัดภาระภาษีเครื่องจักรได้ เนื่องจากนำเข้าเกินกว่า 5 ปีแล้ว โดยให้ยื่นเรื่องในระบบ eMT โดยเลือกเมนู "สั่งปล่อยนอกระบบ" และแนบสำเนาหลักฐานแสดงการนำเข้าโดยใช้สิทธิ เช่น สำเนาใบขนขาเข้า หรือสำเนาหนังสืออนุมัติสั่งปล่อย ครับ |
<< ก่อนหน้า 1 ถัดไป >>