ตอบคำถามดังนี้
1. กรณีคำนวณการผลิตต่ำกว่าความเป็นจริง เช่น คำนวณประสิทธิภาพของเครื่องจักรต่ำกว่าที่ผลิตได้จริง ไม่สามารถยื่นขอแก้ไขกำลังผลิตได้ แต่สามารถขอแก้ไขเพิ่มกำลังผลิตในวันที่ตรวจสอบเปิดดำเนินการ ตามกำลังผลิตที่ BOI ตรวจสอบได้จริง
แต่หากเป็นกรณีที่จะมีการลงทุนเครื่องจักรเพิ่ม เพื่อเพิ่มกำลังผลิต สามารถยื่นขอแก้ไขกำลังผลิตได้
2. การเพิ่มกำลังผลิตโดยเพิ่มเวลาทำงาน สามารถยื่นขอแก้ไขได้
เช่น เดิมได้รับอนุมัติกำลังผลิต 80,000 ชุด/ปี (เวลาทำงาน 10 ชม./วัน 312 วัน/ปี)
หากเพิ่มเวลาทำงานเป็น 24 ชม./วัน 320 วัน/ปี ก็จะได้รับอนุมัติแก้ไขกำลังผลิต ตามสัดส่วนของเวลาทำงานที่เพิ่มขึ้น เป็น 196,923 ชุด/ปี
3. หากจะมีการว่าจ้างชุบในบางขั้นตอน จะต้องยื่นแก้ไขกรรมวิธีการผลิต เพื่อขอเพิ่มขั้นตอนนำชิ้นงานไปว่าจ้างชุบด้วย
4. กรณีที่บริษัทมีการนำเครื่องจักรจากลูกค้ามาใช้ในการผลิต จะต้องพิจารณาว่าเครื่องจักรดังกล่าวเป็นเครื่องจักรหลักหรือไม่
เช่น หากบริษัทเป็นโรงงานฉีดพลาสติก หากนำแม่พิมพ์ฉีดพลาสติกมาจากลูกค้า เพื่อใช้ฉีดชิ้นงานพลาสติกให้กับลูกค้ารายนั้นๆ ก็ไม่ขัดกับกรรมวิธีการผลิต
แต่หากบริษัทนำเครื่องฉีดพลาสติก (ซึ่งเป็นเครื่องจักรหลัก) มาจากลูกค้า เพื่อใช้ฉีดชิ้นงานพลาสติกให้กับลูกค้ารายนั้นๆ ก็จะขัดกับโครงการที่ได้รับส่งเสริม และไม่นับกิจการในส่วนนั้นเป็นกิจการส่วนที่ได้รับการส่งเสริม ครับ