oyooat โพสต์เมื่อวันศุกร์ที่ 22 มกราคม 2564, 08:56:06 (199 สัปดาห์ ก่อน)
Top

รบกวนสอบถามข้อมูล

บริษัทฯ จะติดตั้ง Solar Roof กำลังติดตั้ง 1,700.79 KW. แบบ ON GRID ขอสอบถามดังนี้

1. หลักเกณฑ์ เงื่อนไข วิธีปฎิบัติ ขั้นตอน สิทธิและประโยชน์ที่ผู้ขอรับการส่งเสริมจะขอส่งเสริมการลงทุน
2. การติดตั้ง Solar Roof  หากไม่ได้ลงทุนปรับเปลี่ยนเครื่องจักรไปสู่เทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อให้เกิดการใช้พลังงานลดลงตามสัดส่วนที่กำหนด จะขอรับการส่งเสริมในมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพได้หรือไม่
3. กรณีติดตั้ง Solar Roof ใช้ทั้งโรงงานจะขอรับการส่งเสริมมาตราการปรับปรุงประสิทธิภาพได้หรือไม่
4. บริษัทฯ จะต้องรายงานให้สำนักงานทราบเกี่ยวกับการใช้ Solar Roof สำหรับกิจการที่ได้รับการส่งเสริมเดิมหรือไม่                                        5. สิทธิมาตรา 36 ได้เท่าที่สิทธิเหลืออยู่ กับ ไม่ได้สิทธิมาตรา36

ขอบคุณค่ะ

ADMIN โพสต์เมื่อวันศุกร์ที่ 22 มกราคม 2564, 15:36:16 (199 สัปดาห์ ก่อน)
#1 Top

1.หลักเกณฑ์ เงื่อนไข ในการขอรับส่งเสริมตาม มาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพ สามารถศึกษาได้จาก ประกาศคณะกรรมการ ที่ 1/2564

2-3. การติด Solar roof เพื่อนำพลังงานทดแทนมาใช้ เป็นไปตามหลักเกณฑ์ข้อ 2.5.2 ของประกาศ ซึ่งอยู่ในข่ายขอรับส่งเสริมตามมาตรการดังกล่าว

4.ต้องเสนอรายละเอียดเกี่ยวกับการใช้พลังงาน โดยเปรียบเทียบกับพลังงานทั้งสิ้นที่ใช้อยู่ กับพลังงานทดแทนที่จะเกิดจาก Solar roof

5.สิทธิประโยชน์ตามมาตรา 36 เป็นไปตามที่ได้รับอยู่เดิม / แต่หากโครงการเดิมไม่ได้รับสิทธิมาตรา 36 หรือสิทธิสิ้นสุดลงแล้ว สามารถขอรับสิทธิตามมาตรา 36 เพิ่มเติมได้ ครับ

ZATH โพสต์เมื่อวันอังคารที่ 4 มกราคม 2565, 14:27:51 (150 สัปดาห์ ก่อน)
#2 Top

*****

๒.๒ โครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนอยู่เดิมสามารถยื่นขอรับการส่งเสริมภายใต้ มาตรการนี้ได้ เมื่อสิทธิและประโยชน์การยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้นสิ้นสุดลงแล้ว หรือเป็นโครงการที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ยกเว้นประเภทกิจการที่มีนโยบายเฉพาะที่ไม่ให้สิทธิและ ประโยชน์ตามที่ส านักงานก าหนด

๒.๓ ต้องมีขนาดการลงทุนไม่น้อยกว่า ๑ ล้านบาท โดยไม่รวมค่าที่ดินและทุน หมุนเวียน ยกเว้นโครงการลงทุนของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ต้องมีขนาดการ ลงทุนไม่น้อยกว่า ๕๐๐,๐๐๐ บาท โดยไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน

๒.๔ ผู้ประกอบการที่จะเข้าข่ายเป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ตามข้อ ๒.๓ ต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้

๒.๔.๑ เมื่อรวมกิจการทั้งหมด ทั้งที่ได้รับการส่งเสริมและไม่ได้รับการส่งเสริมแล้ว ผู้ขอรับการส่งเสริมต้องมีรายได้ของกิจการรวมกันแล้วไม่เกิน ๕๐๐ ล้านบาท ต่อปีในช่วง ๓ ปีแรก นับแต่วันที่เริ่มมีรายได้จากการประกอบกิจการที่ ได้รับการส่งเสริม

๒.๔.๒ ต้องมีบุคคลธรรมดาสัญชาติไทยถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๑ ของทุน จดทะเบียน 

*****

 

ตามข้อนี้ หากการติดตั้งโซลาร์เซล์มีขนาดการลงทุนน้อยกว่าล้านบาท จะเข้าข่ายได้รับส่งสเริม ต้องเข้าข่ายข้อ  ๒.๔.๑ และ ๒.๔.๒ แต่หากเกินล้านบาทก็ไม่จำเป็นต้องมีข้อ ๒.๔.๑ และ ๒.๔.๒ ใช้ไหมคะ

หากต้องการจะติดตั้งโซลาร์เซล์ (สมมติว่าเกินล้านบาท) สำหรับโครงการเดิมที่สิทธิและประโยชน์การลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล ยังไม่สินสุด (เหลืออีกห้าปี) และสำหรับโครงการใหม่ที่กำลังจะยื่นคำขอในปีนี้ แสดงว่าสิทธิประโยชน์ของโซลาร์เซลล์จะใข้ได้เฉพาะกับโครงการใหม่ และสิทธิเรื่องภาษีเงินได้จะใช้ได้ สามปี หลังจากเริมมีรายได้ครั้งแรกจากโครงการใหม่ใช่ไหมคะ

แก้ไขโดย ZATH เมื่อวันอังคารที่ 4 มกราคม 2565, 14:29:02
ADMIN โพสต์เมื่อวันอังคารที่ 4 มกราคม 2565, 15:34:47 (150 สัปดาห์ ก่อน)
#3 Top

ตอบคำถามดังนี้ครับ

1. หากมีขนาดการลงทุนเกินกว่า 1 ล้านบาท ก็ไม่ต้องมีคุณสมบัติตามข้อ 2.4 ของประกาศ

2. มาตรการตามประกาศ กกท ที่ 1/2564 ใช้กับกิจการที่ดำเนินการอยู่แล้ว
ดังนั้น หากบริษัทจะลงทุนเพื่อขยายกิจการ (ยื่นคำขอเป็นโครงการใหม่) จะไม่เข้าข่ายตามประกาศ กกท ที่ 1/2546
แต่จะได้รับสิทธิประโยชน์ตามหลักเกณฑ์การส่งเสริมการลงทุน ตาม ประกาศ กกท ที่ 2/2557 ครับ

ZATH โพสต์เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 6 มกราคม 2565, 11:21:02 (150 สัปดาห์ ก่อน)
#4 Top

หมายความว่าบริษัทที่จะขอขยายโครงการใหม่ ก็จะไ่ม่ได้รับสิทธิประโยชน์ตัวนี้หรือคะ (โซลาร์เซล)

ADMIN โพสต์เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 6 มกราคม 2565, 12:32:46 (150 สัปดาห์ ก่อน)
#5 Top

หากยื่นขอรับส่งเสริมเป็น "ขยายกิจการ" 

Solar Roof จะนับเป็นการลงทุนเครื่องจักร ที่จะนำมาคำนวณเป็นขนาดการลงทุนของโครงการได้

แต่การจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือไม่ ขึ้นอยู่กับประเภทกิจการที่ยื่นขอรับส่งเสริม ว่าเข้าข่ายกิจการในประเภท A ที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้หรือไม่ ครับ

ZATH โพสต์เมื่อวันศุกร์ที่ 7 มกราคม 2565, 10:44:45 (149 สัปดาห์ ก่อน)
#6 Top

หมายถึงหากเป็นกิจการประเภทเอ จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ เพิ่มเติมจากตัวโครงการ แต่หากเป็นประเภทบีที่ไม่ได้รับยกเว้นเงินได้จากตัวโครงการ ก็จะไม่ได้รับยกเว้นเงินได้จากตัวโซลาร์เซลล์ด้วยใช่ไหมคะ

ADMIN โพสต์เมื่อวันศุกร์ที่ 7 มกราคม 2565, 13:19:18 (149 สัปดาห์ ก่อน)
#7 Top

1. หากเป็นกิจการในประเภท A จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ 3-8 ปี

โดยมูลค่าการลงทุน Solar Roof ทั้ง 100% จะถูกนับรวมเป็นขนาดการลงทุนของโครงการ (และรวมกับมูลค่าการลงทุนค่าก่อสร้าง และเครื่องจักรอื่นๆ) เพื่อกำหนดวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล

แต่หากเป็นมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพ จะได้รับวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้ เพียงแค่ 50% ของมูลค่าการลงทุนของ Solar Roof

2. หากเป็นกิจการในประเภท B จะไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ ทั้งในส่วนของการยื่นขอรับส่งเสริมเป็นโครงการขยาย หรือยื่นขอรับส่งเสริมตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพ ครับ

ZATH โพสต์เมื่อวันพุธที่ 12 มกราคม 2565, 14:33:37 (149 สัปดาห์ ก่อน)
#8 Top

สำหรับโครงการที่หมดเขตยกเว้นภาษีเงินได้แล้วจึงจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ 50% ของเงินลงทุน ในที่นี้คือเงินลงทุนทั้งหมด หรือเงินลงทุนค่าโซลาร์เซลคะ

ZATH โพสต์เมื่อวันพุธที่ 12 มกราคม 2565, 15:12:04 (149 สัปดาห์ ก่อน)
#9 Top

หากเป็นโครงการเดิมที่ยังไม่หมดภาษีเงินได้ ไม่สามารถขอยื่นปรับปรุงประสิทธภาพได้ แต่สามารถนำเข้าโซลาร์เซลโดยใช้สิทธิยกเว้นภาษีเครื่องจักรได้ใช่ไหมคะ

 

ZATH โพสต์เมื่อวันพุธที่ 12 มกราคม 2565, 15:41:05 (149 สัปดาห์ ก่อน)
#10 Top

ปีที่แล้วเห้นประกาศเพิ่มมาตรการการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพ ที่ให้สมัครภายในปี 65 (ยกเว้นภาษีเงินได้ 50%) อันนี้ยังมีอยู่ไหมคะ หากจะนำมาใช้กับโครงการเดิม (ที่ยังเหลือสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ 50% อีก 5 ปี)

 

ADMIN โพสต์เมื่อวันพุธที่ 12 มกราคม 2565, 17:30:01 (149 สัปดาห์ ก่อน)
#11 Top

ตอบคำถามดังนี้ครับ

1. การลงทุนตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพ จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ 3 ปี เป็นสัดส่วน 50% ของเงินลงทุนไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียนในการปรับปรุง

กรณีที่สอบถามคือ หากเข้าข่ายเงื่อนไขตามมาตรการฯ จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ 50% ของเงินลงทุนค่าโซลาร์เซลล์

2. หากโครงการเดิมยังไม่สิ้นสุดการยกเว้นภาษีเงินได้ จะขอรับการส่งเสริมตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพไม่ได้

แต่หากโครงการเดิมยังไม่ครบกำหนดเปิดดำเนินการ บริษัทสามารถลงทุนโซลาร์เซลล์ และนำมูลค่าการลงทุนนั้นมารวมคำนวณเป็นมูลค่าการลงทุนของโครงการ เพื่อปรับเปลี่ยนวงเงินที่จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ภายใต้โครงการเดิมได้

3. มาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ตาม ประกาศ กกท ที่ 4/2564 จะต้องเป็นโครงการที่สิ้นสุดสิทธิการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้ว ครับ

ZATH โพสต์เมื่อวันพุธที่ 12 มกราคม 2565, 18:50:54 (149 สัปดาห์ ก่อน)
#12 Top

ตามข้อ 2 ไม่ทราบว่าสามารถได้รับยกเว้นภาษีนำเข้าโซลาร์เซลไหมคะ (ทั้งกรณีเปิดดำเนินการแล้วและยังไม่ได้เปิด)

 

ADMIN โพสต์เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 13 มกราคม 2565, 16:21:12 (149 สัปดาห์ ก่อน)
#13 Top

หากยังมีระยะเวลานำเข้าเครื่องจักรเหลืออยู่ สามารถขอแก้ไขบัญชีรายการเครื่องจักรเพื่อนำเข้าโซลาเซลล์ได้ครับ

ZATH โพสต์เมื่อวันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม 2565, 09:35:06 (130 สัปดาห์ ก่อน)
#14 Top

รบกวนสอบถามเพิ่มเติมค่ะ จากข้อมูลด้านบน การขอยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับมูลค่าของ solar roof จะใช้สำหรับโครงการที่หมดอายุภาษีเงินได้ทั้งหมดแล้วเท่านั้น (มาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพ) พอดีกำลังจะกรอกยื่นขอโครงการใหม่ แต่เห็นในใบคำขอ ข้อ 9.4 เป็นเรื่องเกี่ยวกับมาตรการประหยัดพลังงาน เลยเกิดความสงสัยว่าสำหรับโตรงการใหม่จะได้รับสิทธิประโยชน์อะไรเพิ่มเติมจากมาตรการประหยัดพลังงาน หรือคะ

ZATH โพสต์เมื่อวันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม 2565, 09:48:36 (130 สัปดาห์ ก่อน)
#15 Top

เรียนสอบถามอีกประเด็นค่ะ ดามโพสต์ ที่ 5 ด้านบน

คือหากนำกิจการทีมีอยู่เดิม มาเทียบกับประเภทกลุมกิจการ ถ้าเป็น บี ก็จะไม่ได้รบยกเว้นภาษีเงินได้ แต่พอไปอ่านประกาศ 1/2564 (แปะข้อความด้านล่างนี้มาด้วยค่ะ) เลยสับสนนิดหน่อยค่ะ เพราะพูดถึงโตรงการที่ไม่ได้รับยกเว้นเงินได้ (น่าจะเป็นกิจการ บี ตามความเข้าใจ) เพราะสงสัยว่าหากไม่ได้รับภาษีเงินได้แล้วเหตุใตจะต้องขอมาตรการปรับปรงฯ (หรือจะเขียนเผื่อสำหรับโครงการที่สินสุดระยะเวลานำเข้าเครื่องจักรไปแล้ว สามารถกลับมาใช้ ม.28 ได้)

โครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนอยู่เดิมสามารถยื่นขอรับการส่งเสริมภายใต้
มาตรการนี้ได้เมื่อสิทธิและประโยชน์การยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้นสิ้นสุดลงแล้ว หรือเป็นโครงการที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ยกเว้นประเภทกิจการที่มีนโยบายเฉพาะที่ไม่ให้สิทธิและประโยชน์ตามที่สำนักงานกำหนด

ZATH โพสต์เมื่อวันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม 2565, 10:17:04 (130 สัปดาห์ ก่อน)
#16 Top

อีกคำถามค่ะ สำหรับโตรงการใหม่ หากเป้นกิจการในประเภท เอ และได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ หมายความว่าหากเราลงทุน solar roof ก็จะทำให้ไดรับยกเว้นภาษีเงินได้ไปโดยอัตโนมัติ โดยไม่ต้องขอมาตรการปรับปรุังประสิทธิภาพ แต่ได้ตามระยะเวลาที่ระบุไว้ของประเภทกิจการ (ไม่ใช่ได้รับ 3 ปี เหมือนมาตรการปรับปรุงฯ) ถูกต้องไหมคะ เหมือนจะสับสนเอาไปปนกันระหว่างกิจการใหม่กับกิจการเดิม

ADMIN โพสต์เมื่อวันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม 2565, 10:52:51 (130 สัปดาห์ ก่อน)
#17 Top

ตอบคำถามที่ #14

แบบคำขอรับการส่งเสริม ข้อ 9 เป็นเพียงการแสดงถึงประโยชน์ของโครงการนั้น ซึ่งใช้กับคำขอรับส่งเสรืมทุกกรณี

แม้ว่าบริษัทจะไม่ได้ยื่นขอรับส่งเสริมตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพ แต่หากมีแผนจะพัฒนาเทคโนโลยี หรือพัฒนาบุคลากกร หรือประหยัดพลังงาน ก็สามารถกรอกข้อมูลในข้อ 9 เพื่อแสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของโครงการที่ยื่นขอรับส่งเสริมนั้นได้

การกรอกข้อมูลข้อ 9.4 การประหยัดพลังงาน ในคำขอรับส่งเสริม ไม่ได้ทำให้ได้รับสิทธิเพิ่มเติมตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพโดยตรง

การจะขอรับสิทธิตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพ จะต้องยื่น แบบประกอบคำขอรับส่งเสริมตามประกาศ 1/2564 ฯ พร้อมกันในขั้นยื่นคำขอรับการส่งเสริมด้วย ครับ

ADMIN โพสต์เมื่อวันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม 2565, 11:06:36 (130 สัปดาห์ ก่อน)
#18 Top

ตอบคำถาม #15

กิจการที่เดิมไม่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ หรือสิ้นสุดระยะเวลาการยกเว้นภาษีเงินได้ไปแล้ว 

หากจะมีการลงทุนตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพ 

สามารถยื่นนำกิจการนั้นมายื่นขอรับส่งเสริมได้อีกรอบหนึ่ง

โดยจะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ (วงเงินตามสัดส่วนของการลงทุนปรับปรุง) และยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร (สำหรับส่วนที่ลงทุนปรับปรุง) ครับ

ADMIN โพสต์เมื่อวันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม 2565, 11:23:06 (130 สัปดาห์ ก่อน)
#19 Top

ตอบคำถาม #16

การยื่นขอรับส่งเสริมโครงการใหม่ ที่มีการติดตั้ง solar roof
ไม่สามารถยื่นขอรับส่งเสริม ตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพได้
เนื่องจากไม่ได้เป็นการปรับปรุงโครงการที่มีอยู่เดิม

ในการยื่นขอรับส่งเสริมเป็นโครงการใหม่
solar roof จะจัดอยู่ในข่ายเครื่องจักร ที่จะได้รับสิทธิยกเว้นอากรขาเข้าตามมาตรา 28 (กรณีไม่มีผลิตในประเทศ)
และมูลค่าของ solar roof จะนับรวมเป็นขนาดการลงทุนของโครงการ ที่จะนำไปกำหนดวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
ดังนั้น บริษัทจึงจะได้รับสิทธิประโยชน์จากการลงทุน solar roof นี้รวมอยู่แล้วในโครงการที่ขอรับส่งเสริม โดยไม่ต้องยื่นขอรับสิทธิตามมาตรการปรับปรุง

สิทธิประโยชน์ที่ยื่นขอเป็นโครงการใหม่ จะได้รับสิทธิมากกว่ามาตรการปรับปรุงฯ
เนื่องจากจะนับวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้ เต็ม 100% ของมูลค่าการลงทุน solar roof และรวมมูลค่าก่อสร้าง ค่าเครื่องจักรอื่นๆ ด้วย ตามหลักเกณฑ์ปกติ
ขณะที่มาตรการปรับปรุงฯ จะนับวงเงินยกเว้นภาษี ให้เพียง 50% ของการลงทุน solar roof เท่านั้น ครับ

<< ก่อนหน้า       1 | 2 | 3       ถัดไป >>

ถ้าหากคุณต้องการโพสต์ในกระทู้นี้ กรุณา ลงชื่อเข้าใช้ หรือ ลงทะเบียนใช้งานเว็บบอร์ด