ZATH โพสต์เมื่อวันจันทร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2563, 09:08:56 (247 สัปดาห์ ก่อน)
|
เรียนสอบถามกรณีส่วนสูญเสียในสูตรที่ไม่มีมูลค่า จำเป็นต้องระบุในสูตรการผลิตหรือไม่คะ หากที่ผ่านมาไม่ได้ระบุจำเป็นต้องแก้ไขสูตรหรือไม่ค่ะ |
ADMIN โพสต์เมื่อวันจันทร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2563, 10:42:09 (247 สัปดาห์ ก่อน)
|
การจะทำสูตรการผลิตที่มีส่วนสูญเสียในสูตรหรือนอกสูตร ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงในการผลิตสินค้า ไม่เกี่ยวกับว่าส่วนสูญเสียนั้นมีมูลค่าหรือไม่ โดยส่วนสูญเสียที่รวมไว้ในสูตรการผลิต จะได้รับการตัดบัญชีเมื่อมีการส่งสินค้าไปต่างประเทศและยื่นตัดบัญชีวัตถุดิบ แต่ส่วนสูญเสียที่ไม่รวมไว้ในสูตรการผลิต (ส่วนสูญเสียนอกสูตร) จะไม่ได้รับการตัดบัญชีเมื่อมีการส่งออกสินค้าและตัดบัญชีวัตถุดิบ โดยจะต้องให้ บ.Inspector ตรวจสอบรับรองชนิดและปริมาณของส่วนสูญเสีย จากนั้นต้องทำลายเป็นเศษซากตามวิธีที่ได้รับอนุญาต และต้องชำระภาษีตามสาพเศษซาก (หากเศษซากมีมูลค่าเชิงพาณิชย์) จากนั้นจึงจะนำมาตัดบัญชีวัตถุดิบสำหรับส่วนสูญเสียนอกสูตรนั้นได้
ประเด็นที่สอบถาม หากบริษัทต้องการแก้ไขสูตรการผลิตเพื่อให้มีผลย้อนหลัง เนื่องจากทำสูตรผิด จะต้องยกเลิกการตัดบัญชีสำหรับใบขนที่มีการส่งออกสินค้าตามสูตรดังกล่าว จากนั้นจึงนำใบขนนั้นมายื่นตัดบัญชีใหม่โดยใช้สูตรที่แก้ไขแล้ว หากจะดำเนินการด้วยวิธีนี้ แนะนำให้ศึกษาขัั้นตอนวิธีดำเนินการให้เข้าใจถูกต้องชัดเจนก่อน ครับ |
ZATH โพสต์เมื่อวันจันทร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2563, 11:54:59 (247 สัปดาห์ ก่อน)
|
กรณีที่สอบถามเป็นสสส ในสูตรการผลิต หากไม่ประสงค์จะแก้ไขการตัดบัญชีที่แล้วๆมา แต่จะแก้และให้มีผลกับการตัดบัญชีลอตใหม่ๆจะกระทำได้ไม๊คะ |
ADMIN โพสต์เมื่อวันจันทร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2563, 13:46:03 (247 สัปดาห์ ก่อน)
|
หากประสงค์จะใช้สูตรแก้ไข เฉพาะการตัดบัญชีในครั้งต่อไป ให้ยื่นแก้ไขสูตรเดิม ซึ่งจะเป็น revision 2 โดยในการตัดบัญชีครั้งต่อไป ก็ให้เลือกตัดบัญชีโดยระบุเป็น revision 2 ครับ |
ZATH โพสต์เมื่อวันศุกร์ที่ 17 เมษายน 2563, 14:58:13 (239 สัปดาห์ ก่อน)
|
สอบถามกรณีต้องการยื่นส่วนสูญเสียในสูตร สามารถแก้ไขสูตรโดยรวมปริมาณ สสส ในสูตร เข้าไปในปริมาณรวม โดยไม่แจกแจงออกมาเป็นปริมาณ สสส ในสูตร สำหรับกรณี สสส ในสูตรไม่มีมูลค่าเชิงพาณิชย์ได้หรือไม่คะ ส่วนกรณี สสส ในสูตรที่มีมูลค่าก็จะยื่นสูตรปกติ ตย เช่น
Hardener เดิมยื่นสูตรไว้ NW 0.001 Kg / Waste 0 kg / GW 0.001 Kg ต่อมาต้องการแก้ไขสูตรโดยรวม สสส ในสูตร 0.0001 Kg เข้าไปด้วย สามารถยืนแบบนี้ได้ไหมคะ NW 0.0011 Kg / Waste 0 kg / GW 0.0011 Kg
Cable เดิมยื่นสูตรไว้ Net 1.0 Mtr / Waste 0 Mtr / Gross 1.0 Mtr ต่อมาต้องการแก้ไขสูตรโดยรวม สสส ในสูตร 0.05 Mtr เข้าไปด้วย จะดำเนินการยืนแบบนี้ Net 1.0 Mtr / Waste 0.5 Mtr / Gross 1.05 Mtr
แก้ไขโดย ZATH เมื่อวันศุกร์ที่ 17 เมษายน 2563, 14:59:00
|
ADMIN โพสต์เมื่อวันจันทร์ที่ 20 เมษายน 2563, 16:32:34 (239 สัปดาห์ ก่อน)
|
ส่วนสูญเสียที่เกิดขึ้นในอัตราส่วนไม่คงที่ ถือเป็นส่วนสูญเสียนอกสูตร จะรวมไว้ในสูตรการผลิตไม่ได้ ไม่เกี่ยวกับว่าส่วนสูญเสียนั้นจะมีมูลค่าหรือไม่ ครับ |
ZATH โพสต์เมื่อวันจันทร์ที่ 20 เมษายน 2563, 18:13:05 (239 สัปดาห์ ก่อน)
|
ไม่แน่ใจว่าแอดมินหมายถึงอะไรคะที่ว่า ส่วนสูญเสียที่เกิดขึ้นในอัตราส่วนไม่คงที่ ถือเป็นส่วนสูญเสียนอกสูตร แอดมินหมายถึง Cable or Hardener ที่ยกตัวอย่าง ไม่น่าจะมีสสส ในอัตราส่วนที่คงที่หรือเปล่าคะ
จริงๆ ดิฉันได้รับข้อมูลมาจากนายว่า แต่ละตัวมี % ของ สสส ในสูตรประมาณ 5% น่ะค่ะ เลยอยากจะแก้สูตรโดยเพิ่ม สสส ในสูตรเข้าไป เพียงแต่อยากทราบว่าจำเป็นต้องแจกแจงสสส ในสูตรไหม หรือสามารถรวมไปใน ปริมาณรวมได้เลยน่ะค่ะ
|
ADMIN โพสต์เมื่อวันอังคารที่ 21 เมษายน 2563, 14:17:54 (239 สัปดาห์ ก่อน)
|
การขออนุมัติสูตรการผลิต จะต้องแสดงรายการและปริมาณการใช้วัตถุดิบ (net) ต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ รวมทั้งปริมาณการส่วนสูญเสียในกระบวนการผลิต (loss) ตาม ประกาศ สกท ที่ ป.8/2561 ไม่ใช่นำ net และ loss มารวมกัน แล้วยื่นขอเป็นปริมาณการใช้วัตถุดิบ (net) ครับ |
ZATH โพสต์เมื่อวันพุธที่ 22 เมษายน 2563, 11:28:46 (239 สัปดาห์ ก่อน)
|
เรียนถามเพิ่มเติมดังนี้ค่ะ 1. หากเราไม่เคยยื่นส่วนสูญเสียในสูตรมาก่อน สามารถขอแก้ไขสูตรได้ใช่ไหมคะ หาก สสส นั้นๆ ไม่มีมูลค่า จำเป็นต้องขอแก้ไขไหมคะ แก้ไขโดย ADMIN เมื่อวันอังคารที่ 28 เมษายน 2563, 12:35:55
|
ZATH โพสต์เมื่อวันพุธที่ 22 เมษายน 2563, 15:11:03 (239 สัปดาห์ ก่อน)
|
อีกคำถามคือ หน่วยทศนิยมสำหรับยื่นสูตร มี 5 หน่วยได้หรือไม่คะ (เช่น 0.00001) |
ADMIN โพสต์เมื่อวันพุธที่ 22 เมษายน 2563, 15:50:53 (239 สัปดาห์ ก่อน)
|
1.หากสูตรการผลิตที่ได้รับอนุมัติไปแล้ว ไม่ตรงกับการผลิตจริงในปัจจุบัน บริษัทสามารถยื่นขอแก้ไขสูตรการผลิตนั้นได้ โดยระบบจะบันทึกการแก้ไขแต่ละครั้ง เป็น revision 2, 3, 4, ... ตามลำดับ และเมื่อมีการตัดบัญชีสินค้าโมเดลนั้น บริษัทสามารถเลือก revision ที่ต้องการใช้ตัดบัญชีได้ 2.ส่วนสูญเสียนอกสูตรการผลิต จะต้องแยกเก็บตามชนิดและปริมาณ เพื่อรอการตรวจสอบรับรองการทำลายจาก บ.Inspector แต่ส่วนสูญเสียในสูตรการผลิต ไม่ต้องรอตรวจสอบ สามารถนำไปกำจัดได้โดยไม่ต้องขออนุญาต BOI / หรือหากเป็นส่วนสูญเสียที่มีมูลค่าตามสภาพ จะต้องยื่นขอชำระภาษีก่อน ส่วนสูญเสียในสูตรและนอกสูตร จะเก็บรวมกันไม่ได้ เพราะจะทำให้ไม่สามารถตรวจสอบชนิดและปริมาณของส่วนสูญเสียแต่ละชนิดได้ 3.สูตรการผลิต สามารถมีทศนิยมได้ 8 หลัก ครับ |
ZATH โพสต์เมื่อวันจันทร์ที่ 27 เมษายน 2563, 11:24:29 (238 สัปดาห์ ก่อน)
|
สอบถามเพิ่มเติมค่ะ พอดีมีความไม่เข้าใจเกี่ยวกับสสส ในสูตรค่ะ ว่ามันแยกออกจาก สสส นอกสูตรได้ชัดเจนหรือไม่
อย่างกรณี สายไฟ hardener สสส ในสูตร เกิดขึ้นยังไงคะ อย่างถ้าเผื่อปริมาณการตัดสายไฟ กรณีตัดเกินออกมานิดหน่อย แล้วต้องมาตัดให้พอดีอีกรอบ อย่างนี้ถึงเป็นในสูตรไหมคะ หรือ Hardener เวลาหยอดออกมาอาจจะเผื่อหยอดเกินอะไรประมาณนี้ ถือเป็น สสส ในสูตรไหมคะ |
ZATH โพสต์เมื่อวันจันทร์ที่ 27 เมษายน 2563, 11:25:28 (238 สัปดาห์ ก่อน)
|
แต่หากตัดสายไฟสั้นเกินไป ทำให้ต้องตัดสายไฟใหม่ทั้งเส้น เส้นที่ผิดก็ถือเป็นนอกสูตรหรือเปล่าคะ
|
ADMIN โพสต์เมื่อวันจันทร์ที่ 27 เมษายน 2563, 12:04:06 (238 สัปดาห์ ก่อน)
|
ส่วนสูญเสียในสูตร คือ ส่วนสูญเสียที่จะเกิดขึ้นทุกครั้งในอัตราคงที่ เมื่อมีการผลิตสินค้าโมเดลนั้นๆ เศษสายไฟ ที่มีการตัดยาวตัดสั้นเกินไป หรือ Hardender ที่เผื่อปริมาณหยอดเกิน ฯลฯ จึงไม่ใช่ส่วนสูญเสียในสูตร เนื่องจากไม่ใช่อัตราสูญเสียคงที่ ในการผลิตสินค้า ครับ |
ZATH โพสต์เมื่อวันจันทร์ที่ 27 เมษายน 2563, 17:08:21 (238 สัปดาห์ ก่อน)
|
รบกวนสอบถามภาษาอังกฤษของคำว่า สสส นอกสูตร และ สสส ในสูตร ได้ไหมค่ะ พอดีจะสื่อสารกับนายต่างชาติจะได้เข้าใจได้ง่ายขึ้นค่ะ บางที่ไปใช้ waste or scrap ไม่รู้ตัวไหนเป็นศัพท์เฉพาะน่ะค่ะ
อีกคำถามค่ะ สสส นอกสูตร ที่มีแต่วัตถุดิบที่ไม่ได้คุณภาพ ไม่ได้ผ่านการผลิตหรือประกอบ สามารถยื่นขอชำระภาษีหรือส่งออก โดยไม่ต้องมี thrid party มาเป็นผู้รับรอง ใช่หรือไม่คะ |
ADMIN โพสต์เมื่อวันอังคารที่ 28 เมษายน 2563, 12:34:42 (238 สัปดาห์ ก่อน)
|
1.ส่วนสูญเสียในสูตรการผลิต จะใช้ว่า scrap (หรือ loss) included in production formula ก็ได้ แต่ประเด็นคือต้องอธิบายนิยามตามข้อกำหนดของ BOI ให้ถูกต้อง 2.วัตถุดิบที่ไม่ได้คุณภาพ หรือไม่สามารถนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์เดิมได้ เป็นส่วนสูญเสียนอกสูตร แก้ไขโดย ADMIN เมื่อวันอังคารที่ 28 เมษายน 2563, 12:40:59
|
ZATH โพสต์เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน 2563, 14:54:10 (238 สัปดาห์ ก่อน)
|
ยกตย กรณี หลอดหยอดเรซินค่ะ หากเราทิ้งไว้ในหลอดนานมันจะแข็งตัว ใช้ไม่ได้ต่อไป อันนี้เป็น สสส นอกสูตรใช่ไหมคะ แล้วการคำณวนปริมาณเพื่อตัด บช จะทำอย่างไรคะ
สสส นอกสูตรที่ไม่มีมุลค่า ขั้นตอน ดังนี้ใช่ไหมคะ ขออนมัติวิธีทำลาย ให้ผู้รับรองปริมาณ ให้บริษัทรับกำจัดนำออกไป พร้อมออกใบรับรองนำออก นำใบรับรองปริมาณ และใบรับรองนำออก ไปยื่นขอตัดบัญชีบีโอไอ
|
ADMIN โพสต์เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน 2563, 19:09:45 (238 สัปดาห์ ก่อน)
|
1. เรซิน ที่แข็งในหลอด ไม่สามารถนำไปใช้งานต่อได้ เป็นส่วนสูญเสียนอกสูตร กา่รคำนวณปริมาณส่วนสูญเสีย อาจใช้วิธิชั่งน้ำหนัก หักลบด้วยน้ำหนักของหลอดเปล่า เป็นต้น 2. การขอตัดบัญชีส่วนสูญเสียนอกสูตร มีขั้นตอนดังนี้ - ขออนุมัติวิธีทำลาย (หากเป็นส่วนสูญเสียชนิดเดิม และจะทำลายโดยวิธีเดิมที่ได้รับอนุมัติแล้ว ไม่ต้องขออนมัติวิธีทำลายใหม่อีก) - ทำลายตามวิธีที่ได้รับอนุมัติ โดยติดต่อ บ.Inspector ที่ได้รับอนุญาตจาก BOI ให้มาตรวจสอบรับรองชนิดและปริมาณของส่วนสูญเสีย ก่อนและหลังการทำลาย และออกเอกสารับรองตามแบบที่ BOI กำหนด - ในการทำลายวัตถุดิบ (ส่วนสูญเสียนอกสูตร) ต้องแจ้งกรมสรรพากรและผู้สอบบัญชีทราบ ตามประกาศของกรมสรรพากร - ยื่นคำร้องขอตัดบัญชีส่วนสูญเสียนอกสูตรต่อ BOI พร้อมหนังสือรับรองของ บ.Insector - เมื่อได้รับอนุมัติ จึงยื่นขอตัดบัญชี (ปรับยอด) ต่อ IC ต่อไป ครับ |
ZATH โพสต์เมื่อวันศุกร์ที่ 1 พฤษภาคม 2563, 12:13:46 (237 สัปดาห์ ก่อน)
|
ต้องรับรองทั้ง ก่อน และ หลังทำลาย หากเราส่งกำจัดข้างนอก inspector ต้องตามไปดูที่บ.รับกำจัดตอนทำลายเสร็จด้วยหรือคะ
สรรพากรจะมาดูตอนเคลื่อนย้าน สสส นี้ ไปที่บริษัทรับกำจัดหรือคะ
|
ADMIN โพสต์เมื่อวันศุกร์ที่ 1 พฤษภาคม 2563, 16:38:00 (237 สัปดาห์ ก่อน)
|
ตามประกาศ BOI ส่วนสูญเสียนอกสูตรจะต้องทำลายเป็นเศษซาก จึงจะปลอดจาการะภาษี ส่วนการนำเศษซากไปกำจัด จะต้องเป็นไปตามกฎหมายของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ใช่ข้อกำหนดตามประกาศเรื่องส่วนสูญเสียของ BOI คำแนะนำคือ ให้ขออนุมัติวิธีการทำลาย เช่น รตัด ทุบ บด อัด ให้เสียสภาพ เป็นต้น โดย บ.Inspector จะทำการตรวจสอบ โดยอยู่ร่วมในการทำลายด้วย สำหรับเรื่องสรรพากร ขอให้ศึกษาจาก คำสั่งกรมสรรพากร ที่ 79/2541 หรือปรึกษากับกรมสรรพากรโดยตรง ครับ แก้ไขโดย ADMIN เมื่อวันศุกร์ที่ 1 พฤษภาคม 2563, 16:38:27
|