GUEST โพสต์เมื่อวันจันทร์ที่ 25 กรกฏาคม 2559, 14:31:37 (434 สัปดาห์ ก่อน)
|
หากเครื่องจักรที่ใช้งานเสีย แล้วมีการเปลี่ยนอะไหล่ภายในเพื่อซ่อม ทำให้เครื่องจักรกลับใช้งานได้อีก ตัวอะไหล่ที่เปลี่ยนต้องแจ้ง BOI ไหมครับ สามารถทำลายเลยโดยไม่แจ้งได้ไหม ยกตัวอย่าง นำเข้ารถยนต์ทั้งคัน ถ้าต้องเปลี่ยนน้ำมันเครื่องและไส้กรอกน้ำมันเครื่อง ต้องแจ้งไหมครับ บริษัท Bang..... |
ADMIN โพสต์เมื่อวันจันทร์ที่ 25 กรกฏาคม 2559, 14:38:45 (434 สัปดาห์ ก่อน)
|
เครื่องจักรและชิ้นส่วนเครื่องจักร ที่นำเข้ามาโดยยกเว้นอากรขาเข้า จะตัดภาระภาษีได้เมื่อมีอายุครบ 5 ปี นับจากวันนำเข้า หากเครื่องจักรหรืออะไหล่ชำรุดเสียหาย โดยยังมีอายุไม่ครบ 5 ปี สามารถขอส่งคืนไปต่างประเทศ บริจาค ทำลาย หรือขอชำระภาษีตามสภาพ จึงจะหมดภาระภาษี กรณีที่สอบถาม จะขออนุมัติทำลายก็ได้ โดยให้บริษัท Inspector ตรวจสอบรับรองการทำลาย แต่ปกติน่าจะใช้วิธีขอชำระภาษีตามสภาพ จากนั้นจึงจำหน่ายในประเทศ ครับ |
GUEST โพสต์เมื่อวันจันทร์ที่ 25 กรกฏาคม 2559, 16:18:02 (434 สัปดาห์ ก่อน)
|
รบกวนอีกนิดครับ ยังสับสนอยู่ครับ ผมหาในข้อกฏหมายไม่ได้ระบุถึงอะไหล่ข้างใน ขอบคุณมากครับ |
ADMIN โพสต์เมื่อวันจันทร์ที่ 25 กรกฏาคม 2559, 16:35:01 (434 สัปดาห์ ก่อน)
|
การทำลายเครื่องจักร เป็นวิธีการจัดการเครื่องจักรที่ชำรุดเสียหายแต่ยังไม่ปลอดภาระภาษี ให้พ้นจากภาระภาษี การทำลายจะต้องยื่นขออนุมัติวิธีทำลาย และทำลายโดยมีบริษัท Inspector ที่ได้รับอนุญาต เป็นผู้ตรวจสอบรับรองการทำลาย
ประเด็นที่สอบถาม ต้องพิจารณาว่า อะไหล่ดังกล่าวมีภาระภาษีหรือไม่ และปลอดภาระภาษีแล้วหรือไม่ หากนำอะไหล่ดังกล่าวไปจำหน่ายในประเทศ จะถือเป็นความผิดตามกฎหมายศุลกากรหรือไม่ หากเป็นความผิด ก็ต้องขออนุญาตทำลาย หรือขอชำระภาษีให้ถูกต้อง หากไม่เป็นความผิด ก็ไม่ต้องขอทำลาย สามารถจำหน่ายในประเทศได้เลย
อะไหล่ที่ติดมากับเครื่องจักร ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าพร้อมกับตัวเครื่องจักร จึงต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของ BOI เช่นเดียวกับเครื่องจักร ครับ |
<< ก่อนหน้า 1 ถัดไป >>