GUEST โพสต์เมื่อวันพุธที่ 18 พฤษภาคม 2559, 09:35:16 (445 สัปดาห์ ก่อน)
|
เนื่องจากบริษัทโดนตรวจสอบจากกรมศุลกากร ปรากฏว่า
ซึ่งทั้งสองกรณีเป็นเหตุให้บริษัทต้องคดี โดยเสียภาษีพร้อมทั้งค่าปรับจำนวนหนึ่ง ซึ่งบริษัทได้ชำระภาษีกับทางกรมศุลกากรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ข้อมูลของงานสินค้าที่นำกลับเข้ามาในราชอาณาจักร( Reject )ที่ทำการเสียภาษีนั้น ยังปรากฏอยู่ในระบบฐานข้อมูลอยู่เท่าเดิม ดังนั้น
รบกวนช่วยไขข้อสงสัยให้ด้วยนะคะ บริษัท ยู...... |
ADMIN โพสต์เมื่อวันพุธที่ 18 พฤษภาคม 2559, 10:02:52 (445 สัปดาห์ ก่อน)
|
1. การนำสินค้าเข้ามาจากเขตปลอดอากรเพื่อจำหน่ายในประเทศ โดยสำแดงราคาต่ำ เป็นความผิดทางศุลกากร ซึ่งกรณีนี้เข้าใจว่าไม่ได้ใช้สิทธินำเข้าจาก BOI จึงไม่เกี่ยวข้องกับในส่วน BOI 2. การนำสินค้าที่บริษัทส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศ กลับมาเข้าซ่อมแซม เพื่อส่งกลับออกไปอีกครั้งหนึ่ง สามารถใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าตาม ม.36(1) ได้ แต่ต้องเป็นสินค้าที่สามารถซ่อมได้ กรณีที่ซ่อมไม่ได้ และไม่สามารถส่งกลับออกไปได้ บริษัทจะต้องยื่นขอชำระภาษีอากร หรือจะต้องขออนุมัติทำลายและชำระภาษีเศษซากหลังทำลาย ฯลฯ ตามหลักเกณฑ์ที่ BOI กำหนด กรณีที่สอบถาม บริษัทนำสินค้ากลับเข้ามาซ่อมแซมโดยใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากร แต่ไม่ได้ส่งออก และไม่ได้ขอชำระภาษีหรือขอทำลาย แต่นำไปจำหน่ายในประเทศ จึงมีความผิดตามกฎหมายศุลกากร ตอบคำถามดังนี้ครับ 1. บริษัทใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรสินค้าที่นำกลับเข้ามาซ่อม แต่ต่อมากระทำผิด และไดชำระภาษีอากรและค่าปรับต่อกรมศุลกากรไปแล้ว ดังนั้น ยอด balance ที่ใช้สิทธินำเข้ากับ BOI จึงสามารถปรับยอดให้เป็น 0 ได้ แต่กรณีนี้ไม่มีแบบฟอร์มในการยื่น จึงให้บริษัทร่างหนังสือขึ้นมาเอง โดยมีสาระสำคัญคือ
ตอนที่ยื่น ควรชี้แจงกับ จนท ก่อน โดย จนท อาจให้แก้ไขเอกสารหรือเตรียมเอกสารหลักฐานเพิ่มเติม เมื่อ BOI อนุมัติให้ปรับยอดแล้ว จึงนำหนังสืออนุมัติและไฟล์ ADJUST ไปยื่นปรับยอดที่ IC ต่อไป 2. การขอคัดสำเนาใบขนสินค้า เท่าที่ทราบคือ ต้องไปเขียนคำร้องและยื่นเรื่องที่ด่านศุลกากรที่นำเข้าหรือส่งออกสินค้าตามใบขนนั้นๆ คำถามนี้ไม่เกี่ยวกับ BOI น่าจะสอบถามกับชิปปิ้งหรือกรมศุลกากรโดยตรงครับ |
<< ก่อนหน้า 1 ถัดไป >>