mitsuwa โพสต์เมื่อวันจันทร์ที่ 2 มีนาคม 2558, 15:07:12 (507 สัปดาห์ ก่อน)
|
กรณีบริษัทขาดทุนยังไม่ได้ใช้สิทธิ์ยกเว้นภาษีเงินได้ ภายในเวลาที่กำหนดในบัตร 7ปี นับจากวันที่เริ่มมีรายได้ครั้งแรก (2 กพ 2009-2016) ตามมาตรา 31 นับไปอีก 5ปี (2016-2021) คือบริษัทจะสามารถได้รับการยกเว้นอีก 50% จากการที่ต้องเสียภาษีให้กรรมสรรพากร 23% คือ11.5% ถูกต้องหรือไม่ค่ะ
ขอบคุณค่ะ
|
ADMIN โพสต์เมื่อวันจันทร์ที่ 2 มีนาคม 2558, 15:56:03 (507 สัปดาห์ ก่อน)
|
||||||||||||||||||||||||||
ไม่ถูกครับ หากในช่วงระยะเวลาการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 31 มีผลขาดทุน บริษัทสามารถนำผลขาดทุนประจำปีที่เกิดขึ้นในช่วงที่ได้รับสิทธิ ม.31 ไปหักจากกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นหลังจากสิ้นสุดสิทธิ ม.31 ไปแล้วเป็นเวลาไม่เกิน 5 ปี
สมมุติว่าบริษัทได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ 7 ปี โดยมีผลประกอบการดังนี้
กรณีข้างต้นนี้ ผลขาดทุนของปีที่ 1-3 จะสามารถนำไปหักจากกำไรสุทธิในปีที่ 8-12 ได้ ส่วนกำไรของปีที่ 4-7 จะได้รับยกเว้นภาษี จึงเป็นดังนี้ ปีที่ 1 ผลขาดทุน 10 ล้าน ยกไปหักจากกำไรของปีที่ 8 ได้ 5 ล้าน และปีที่ 9 ได้ 5 ล้าน ปีที่ 2 ผลขาดทุน 5 ล้าน ยกไปหักจากกำไรของปีที่ 9 ได้ 5 ล้าน ปีที่ 3 ผลขาดทุน 5 ล้าน ยกไปหักจากกำไรของปีที่ 10 ได้ 5 ล้าน ปีที่ 4 กำไรเป็น 0 ไม่ต้องเสียภาษี ปีที่ 5 - ปีที่ 7 กำไรปีละ 5 ล้าน ใช้สิทธิยกเว้นภาษี ปีที่ 8 กำไร 5 ล้าน ยกผลขาดทุนของปีที่ 1 มาหักได้ทั้งหมด จึงไม่มีกำไรสุทธิที่ต้องเสียภาษี ปีที่ 9 กำไร 10 ล้าน ยกผลขาดทุนจากปีที่ 1 ที่ยังหักไม่หมด มาหักได้ 5 ล้าน และยกผลขาดทุนของปีที่ 2 มาหักได้ 5 ล้าน จึงไม่มีกำไรสุทธิที่ต้องเสียภาษี ปีที่ 10 กำไร 10 ล้าน ยกผลขาดทุนของปีที่ 3 มาหักได้ 5 ล้าน จึงมีกำไรสุทธิ 5 ล้าน ที่ต้องเสียภาษี ปีที่ 11-12 กำไรสุทธิปีละ 10 ล้าน ต้องชำระภาษี .. ครับ |
ZATH โพสต์เมื่อวันอังคารที่ 24 พฤษภาคม 2565, 16:27:49 (130 สัปดาห์ ก่อน)
|
สอบถามต่อจากคำถามนี้นะคะ (พอดีเป็นคำถามเดียวกันพอดีค่ะ) ผู้ถามน่าจะต้องการถามอีกคำถามนึง คือ ในปีที่ 8-12 ได้รับสิทธิลดหย้อนภาษีเงินได้สำหรับกำไรสุทธิในอัตรา 50% ของอัตราปกติ เป็นเวลา ห้าปี ดังนั้น ในปีที่ 8-12 จะเป็นดังนี้ใช่หรือไม่คะ (อ้างอิงจากคำตอบด้านบน แต่คอมเมนต์เพิ่มเติมในสีฟ้าค่ะ)
ปีที่ 8 กำไร 5 ล้าน ยกผลขาดทุนของปีที่ 1 มาหักได้ทั้งหมด จึงไม่มีกำไรสุทธิที่ต้องเสียภาษี ปีที่ 9 กำไร 10 ล้าน ยกผลขาดทุนจากปีที่ 1 ที่ยังหักไม่หมด มาหักได้ 5 ล้าน และยกผลขาดทุนของปีที่ 2 มาหักได้ 5 ล้าน จึงไม่มีกำไรสุทธิที่ต้องเสียภาษ ปีที่ 10 กำไร 10 ล้าน ยกผลขาดทุนของปีที่ 3 มาหักได้ 5 ล้าน จึงมีกำไรสุทธิ 5 ล้าน ที่ต้องเสียภาษี --> หากปกติอัตราภาษีอยู่ที่ 23% เท่ากับ 5 M x 23% = 1.15 M แต่ลด 50% จึงเหลืออัตราภาษีที่ต้องจ่าย 11.5% เท่ากับ 5 M x 11.5% = 0.575 M ปีที่ 11-12 กำไรสุทธิปีละ 10 ล้าน ต้องชำระภาษี --> หากปกติอัตราภาษีอยู่ที่ 23% เท่ากับ 10 M x 23% = 2.3 M แต่ลด 50% จึงเหลืออัตราภาษีที่ต้องจ่าย 11.5% เท่ากับ 10 M x 11.5% = 1.15 M ที่ต้องจ่ายแต่ละปี |
ADMIN โพสต์เมื่อวันพุธที่ 25 พฤษภาคม 2565, 12:01:00 (130 สัปดาห์ ก่อน)
|
ขอบคุณคำตอบของคุณ ZATH ครับ ตามตัวอย่างในคำถาม ปีที่ 1-7 บริษัทได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ และปีที่ 8-12 ได้รับสิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้กึ่งหนึ่งของอัตราปกติ แต่บริษัทมีผลขาดทุนของปีที่ 1-3 ซึ่งสามารถนำมาหักจากกำไรสุทธิของปีที่ 8-12 ได้ เมื่อหักผลขาดทุนแล้ว ยังมีกำไรสุทธิอยู่ สามารถใช้สิทธิลดหย่อนกึ่งหนึ่งของอัตราปกติได้ ตามที่คุณ ZATH เขียนไว้ในคำตอบที่ #2 ครับ
|
<< ก่อนหน้า 1 ถัดไป >>