ZATH โพสต์เมื่อวันพุธที่ 7 กรกฏาคม 2564, 11:40:24 (176 สัปดาห์ ก่อน)
Top

หากบริษัทแม่มีการเรียกเก็บ ค่า license fee จากสินค้าที่ขายได้ เช่น 5 เปอร์เซนต์จากยอดขาย โดยวัตถุดิบที่นำเข้ามาผลิตสินค้า (มีทั้งนำเข้าโดยใช้และไม่ใช้ ม.36) นำเข้ามาจากบางส่วนบริษัทแม่ และบางส่วนนำเข้าบริษัทอื่นๆ

 

กรณีนี้ไม่แน่ใจว่าจะเกี่ยวข้องกับราคาวัตถุดิบที่ต้องสำแดงตอนนำเข้าหรือไม่คะ (ต้องบวกเพิ่มอะไรหรือไม่) ทั้งในส่วนที่นำเข้ามาจากบริษัทแม่ และในส่วนที่นำเข้าบริษัทอื่นๆ

 

ADMIN โพสต์เมื่อวันพุธที่ 7 กรกฏาคม 2564, 15:31:26 (176 สัปดาห์ ก่อน)
#1 Top

เนื่องจากไม่ได้เป็นคำถามที่เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ข้อกำหนดของ BOI จึงขอตอบตามความเห็นส่วนตัวดังนี้

ข้อเท็จจริง บริษัทนำเข้าวัตถุดิบจากบริษัทแม่ โดยมีเงื่อนไขต้องจ่ายค่า License Fee จากราคาสินค้าที่ขายได้ 5%

ความเห็น

1. ค่า Royalty และ License Fee ต้องนำมารวมไว้ในราคาศุลกากรด้วย ตาม ประกาศกรมศุลกากร ที่ 133/2561 หน้า 72
รายละเอียดขอให้สอบถามกับ บ.ชิปปิ้ง และกรมศุลกากร โดยตรง

2. การจ่ายค่า License ของวัตถุดิบ ตามราคาขายสินค้า เป็นปกติวิสัยของการประกอบธุรกิจหรือไม่
เช่น หากบริษัทประกอบธุรกิจ IPO/ITC คือ ซื้อมาขายไป ก็อยู่ในวิสัยที่เข้าใจได้
แต่หากบริษัทประกอบธุรกิจการผลิต โดยนำเข้าวัตถุดิบจากบริษัทแม่ 1 ชิ้น ราคา 100 บาท และผลิตเป็นสินค้าจำหน่ายในราคา 10,000 บาท หากต้องจ่ายค่า License 5% ของราคาสินค้า = 500 บาท ก็อาจไม่เป็นปกติวิสัยของการประกอบธุรกิจ
จึงควรสอบถามกับผู้ทำบัญชี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมสรรพากร ว่าจะเข้าข่ายการกำหนดราคาซื้อขายที่ไม่ใช่เป็นราคาตลาดหรือไม่ ครับ

ZATH โพสต์เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 8 กรกฏาคม 2564, 16:23:11 (176 สัปดาห์ ก่อน)
#2 Top

ข้อเท็จจริง บริษัทนำเข้าวัตถุดิบจากบริษัทแม่ โดยมีเงื่อนไขต้องจ่ายค่า License Fee จากราคาสินค้าที่ขายได้ 5%

จากประโยคด้านบน ไม่แน่ใจว่าทางแอดมินตีความว่าการนำเข้าวัตถุดิบจากบริษัทแม่ มีเงื่อนไขต้องจ่ายค่า License Fee จากราคาสินค้าที่ขายได้ หรือเปล่าคะ -- ในความเป็นจริง มีเงื่อนไขแค่ว่า เก็บค่า License Fee จากราคาสินค้าที่ขายได้ 5% แต่การนำเข้าวัตถุดิบไม่ได้มีเงื่อนไขเกี่ยวข้องกับประเด็น License Fee นี้แต่อย่างใดค่ะ

 

ขอบคุณมากค่ะ สำหรับความเห็นข้อแรกจะนำไปปรึกษาในรายละเอียดกับทางกรมศุลฯอีกทีค่ะ

ส่วนประเด็นข้อ 2 เรื่องที่ว่าจะเข้าข่ายการกำหนดราคาซื้อขายที่ไม่ใช่เป็นราคาตลาดหรือไม่ ขอแยกส่วนด้งนี้ค่ะ

 

1) ราคาขาย -  เข้าใจว่าแอดมินหมายถึงในกรณีนี้ราคาขายจริงๆควรเป็น 10500 บาท แต่รายงานเป็น 10000 บาท หรือเปล่าคะ

 

2) ราคาซื้อ - ตรงนี้ไม่แน่ใจว่าหมายถึงอะไรนะคะ หรือหมายถึงว่าราคาซื้อควรเป็นราคาที่บวกค่าLicense Fee จากราคาสินค้าที่ขายได้ เข้าไปในราคาวัตถุดิบด้วย หรือคะ

 

 

ADMIN โพสต์เมื่อวันศุกร์ที่ 9 กรกฏาคม 2564, 12:40:11 (176 สัปดาห์ ก่อน)
#3 Top

หากการจ่ายค่า License Fee มีความเกี่ยวข้องกับการนำเข้าวัตถุดิบ ให้นำค่า License Fee ไปรวมไว้ในราคาวัตถุดิบ ตามคำตอบข้างต้น

แต่หากการจ่ายค่า License Fee ไม่มีความเกี่ยวข้องกับการนำเข้าวัตถุดิบ จะต้องยื่นชำระภาษีอากรค่า Licence Fee โดยคำนวณพิกัดภาษีตามสินค้าที่ได้รับอนุญาตตาม License Fee นั้นๆ แต่วันที่จะต้องสำแดงต่อกรมศุลกากร ไม่แน่ใจว่าจะต้องเป็นวันใด เช่น วันที่ได้รับใบอนุญาต หรือวันที่เริ่มผลิต หรือวันที่เริ่มจำหน่าย เป็นต้น ครับ

ZATH โพสต์เมื่อวันศุกร์ที่ 9 กรกฏาคม 2564, 17:13:02 (176 สัปดาห์ ก่อน)
#4 Top

อีกคำถามนะคะ หากกรณีที่เราซื้อวัตถดิบจากบริษัท ก. ในต่างประเทศ โดยเราตกลงชำระค่าแม่พิมพ์ให้ผู้ผลิต (เราเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในแม่พิมพ์ด้งกล่าว) เพื่อใช้ในการผลิตวัตถุดิบที่เราซื้อจาก บริษํท ก. ดังกล่าว หากเราจะนำอินวอยซ์ค่าแม่พิมพ์นั้นไปชำระภาษีนำเข้า พร้อมกับการนำเข้าวัตถุดิบในลอตเดียว เราสามารถนำได้รับสิทธิ ม.36 พร้อมกับวัตถุดิบด้วยหรือไม่คะ

ตย เช่น ค่าแม่พิมพ์ 3000 ยูโร ค่าวัตถุดิบในลอตนั้น 3000 ชิ้น 4500 ยูโร รวมราคาทั้งอินวอยซ์ 3000+4500 = 7500 ยูโร ภาษีนำเข้า ม.36 0% = 0 บาท หรือไม่คะ

(กฎกระทรวงการกําหนดและการใช้ราคาศุลกากร พ.ศ. 2560 หน้า 53 ระบุว่าให้นำมารวมไว้ในราคานำเข้าตามสัดส่วนอย่างเหมาะสม แต่ได้โทรไปปรึกษาทางกรมศุล จนท แนะนำว่าเห็นบริษัทมักจะนำมารวมในอินวอยซ์วัตถุดิบชิปเมนท์เดียวแล้วเสียอากรก้อนเดียวไปเลย เพราะการชี้แจงแต่ละชิปเมนท์จนกว่าจะครบยอดเงินของแม่พิมพ์อาจจะยุ่งยากไป)

 

ส่วนในเรื่อง License Fee จนท ท่านเดียวกันให้ความเห็นว่าหากเป็นกรณีค่า License Fee ไม่ได้เกี่ยวข้องกับค่าวัตถุดิบ ก็ไม่จำเป็นต้องนำมาชำระภาษีค่ะ อันนี้เหมือนจะเป็นความเห็นต่างกับแอดมินนะคะ

ADMIN โพสต์เมื่อวันจันทร์ที่ 12 กรกฏาคม 2564, 12:14:08 (175 สัปดาห์ ก่อน)
#5 Top

1. บริษัท A (ในประเทศ) จ้างให้บริษัท B (ต่างประเทศ) ผลิตแม่พิมพ์ให้ในราคา 1 ล้านบาท และจ้างให้นำแม่พิมพ์นั้นไปผลิตวัตถุดิบจำนวน 200,000 ชิ้น ในราคาชิ้นละ 1 บาท แล้วจึงนำเข้าวัตถุดิบนั้นเข้ามาในประเทศ

    ในกรณีเช่นนี้ วัตถุดิบที่นำเข้าจากบริษัท B ในราคาชิ้นละ 1 บาทนั้น จะต้องนำค่าแม่พิมพ์มาเฉลี่ยเป็นราคาที่แท้จริงของวัตถุดิบด้วยในราคาชิ้นละ 1,000,000 / 200,000 = 5 บาท จึงต้องสำแดงราคาวัตถุดิบที่นำเข้าในราคา 1+5 = 6 บาท โดยในการขอใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าตามมาตรา 36 สามารถสั่งปล่อยภายใต้รายการของวัตถุดิบนั้นๆ โดยตรง โดยไม่ต้องแยกสั่งปล่อยเป็นรายการค่าบริการทางวิศวกรรมเช่นเดียวกับกรณีของเครื่องจักร

    กรณีที่บริษัท A จะไม่เฉลี่ยค่าแม่พิมพ์ตามจำนวนการผลิตวัตถุดิบทั้งหมด แต่จะเฉลี่ยค่าแม่พิมพ์ในการนำเข้าวัตถุดิบที่นำเข้าล็อตแรกล็อตเดียวให้ครบตามมูลค่าแม่พิมพ์ เช่น นำเข้าวัตถุดิบล็อตแรก 2,000 ชิ้น เฉลี่ยเป็นค่าแม่พิมพ์เต็มมูลค่า =  1,000,000 / 2,000 = 500 บาท และสำแดงราคาวัตถุดิบในล็อตนี้เป็น 1 + 500 = 501 บาท ส่วนการนำเข้าวัตถุดิบล็อตต่อๆไป สำแดงราคาเป็น 1 บาท เนื่องจากเคยสำแดงราคาแม่พิมพ์ไปครบถ้วนแล้วนั้น จะกระทำได้และเหมาะสมหรือไม่อย่างไร ขึ้นกับการพิจารณาของกรมศุลกากร

2. ส่วนการซื้อ License Fee จากต่างประเทศ โดยไม่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าวัตถุดิบนั้น ขอให้สอบถามกับกรมศุลกากรโดยตรง โดยควรสอบถามเป็นลายลักษณ์อักษร และหากได้คำตอบอย่างไร หากจะช่วยแจ้งให้ทราบด้วย จะขอบคุณมากครับ

<< ก่อนหน้า       1       ถัดไป >>

ถ้าหากคุณต้องการโพสต์ในกระทู้นี้ กรุณา ลงชื่อเข้าใช้ หรือ ลงทะเบียนใช้งานเว็บบอร์ด