Jindapon โพสต์เมื่อวันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2563, 14:18:46 (210 สัปดาห์ ก่อน)
Top

สอบถามค่ะ  กิจการเภท 5.5
บริษัทจะมีการทำลายประจำปี Fixed Assets ของทางบัญชี เช่น เก้าอี้ โต๊ะทำงาน  โครงสร้างอาคาร  และ วัตถุดิบ - ชิ้นงานสำเร็จรูป -  เครื่องจักร
ต้องแจ้งรายการทำลายสำหรับสรรพกร และ มีในส่วนของสำหรับใช้สิทธิ boi  ทั้งหมดได้รับยกเว้นภาษี
คำถาม 

1. พวกทรัทย์สิน เช่น เก้าอี้ โต๊ะทำงาน  โครงสร้างอาคาร นี่ไม่ได้เกี่ยวกับ boi ถูกต้องไหมคะ แจ้งแค่สรรพกรอย่างเดียว

2. ในส่วนของ วัตถุดิบ - ชิ้นงานสำเร็จรูป -  เครื่องจักร ที่จะทำลายนี้ ต้องแจ้ง boi  ทำลายเสร็จสิ้น ทางแผนกบัญชีต้องรายการสรรพต่อไปถูกต้องไหมคะ 

เพราะตอนนี้ทางแผนกบัญชีมีการสับสน จำพวก ทรัพย์สินที่จะทำลาย อยู่ใน Asset List ตอนขอเปิดดำเนินการค่ะ

แก้ไขโดย Jindapon เมื่อวันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2563, 15:45:26
ADMIN โพสต์เมื่อวันพุธที่ 11 พฤศจิกายน 2563, 14:01:16 (210 สัปดาห์ ก่อน)
#1 Top

ขอตอบเฉพาะส่วนที่เป็นหลักเกณฑ์ข้อกำหนดของ BOI ดังนี้

1.เครื่องจักรที่นำเข้าโดยใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรตามมาตรา 28, 29

- กรณีนำเข้ายังไม่ครบ 5 ปี

ให้ยื่นขออนุมัติทำลาย ตามประกาศ สกท ที่ 3/2555 แต่ต้องเป็นเครื่องที่ชำรุดเสียหายเท่านั้น

โดยการทำลาย ต้องเป็นไปตามวิธีที่ BOI อนุญาต ภายใต้การควบคุมของบริษัทที่ได้รับมอบหมายจาก BOI

และหากเป็นเครื่องจักรที่ทำให้กำลังผลิตของโครงการลดลงมากกว่า 20% ต้องมีการนำเครื่องจักรใหม่เข้ามาทดแทน หรือต้องขอลดขนาดกิจการด้วย

- กรณีนำเข้าเกินกว่า 5 ปี

ให้ยื่นตัดบัญชีเครื่องจักรเพื่อปลอดภาระภาษี และขอจำหน่ายออกจากโครงการ

โดยการจำหน่ายออกจากโครงการ จะเป็นการขาย บริจาค ทำลาย (ไม่ต้องขออนุมัติวิธีทำลาย และไม่ต้องทำลาภายใต้การควบคุมของบริษัทที่ได้รับมอบหมายจาก BOI) หรือจะนำไปกำจัดตามระเบียบที่เกี่ยวข้องของหน่วยงานอื่นก็ได้ และให้เก็บหลักฐานการดำเนินการนั้นๆ ไว้ เป็นหลักฐานประกอบการตัดบัญชีเครื่องจักร

และหากเป็นเครื่องจักรที่ทำให้กำลังผลิตของโครงการลดลงมากกว่า 20% ต้องมีการนำเครื่องจักรใหม่เข้ามาทดแทน หรือต้องขอลดขนาดกิจการด้วย

ทั้งนี้ การทำลายเครื่องจักรทั้งกรณีที่เกิน 5 ปี และไม่เกิน 5 ปี ภายหลังจากการอนุญาตเปิดดำเนินการแล้ว จะไม่ถูกปรับลดวงเงินการยกเว้นภาษีเงินได้ที่ได้กำหนดในขั้นการอนุญาตเปิดดำเนินการไปแล้ว

2.วัตถุดิบที่นำเข้าโดยใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าตามมาตรา 36

ให้ยื่นขออนุมัติทำลาย ตามประกาศ สกท ที่ ป.5/2543

โดยการทำลาย ต้องเป็นไปตามวิธีที่ BOI อนุญาต ภายใต้การควบคุมของบริษัทที่ได้รับมอบหมายจาก BOI

เศษซากหลังทำลาย หากมีมูลค่าเชิงพาณิชย์ จะต้องยื่นขอชำระภาษีอากรตามสภาพเศษซาก

และหากเป็นการทำลายส่วนสูญเสียนอกสูตรการผลิต ให้ยื่นหลักฐานการทำลายและการชำระภาษี เพื่อตัดบัญชี (ปรับยอด) วัตถุดิบต่อไป

3.สินทรัพย์อื่นๆ นอกเหนือจากข้อ 1 และ 2 ไม่ว่าจะบันทึกเป็นสินทรัพย์หรือไม่ก็ตาม

ไม่ต้องขออนุญาตทำลายต่อ BOI

และหากทำลายภายหลังจากได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการแล้ว ก็จะไม่ถูกต้องปรับลดวงเงินการยกเว้นภาษีเงินได้ที่ได้กำหนดในขั้นการอนุญาตเปิดดำเนินการไปแล้ว ครับ

แก้ไขโดย ADMIN เมื่อวันพุธที่ 11 พฤศจิกายน 2563, 15:55:13
Jindapon โพสต์เมื่อวันพุธที่ 11 พฤศจิกายน 2563, 14:55:54 (210 สัปดาห์ ก่อน)
#2 Top

เศษซากหลังทำลาย หากมีมูลค่าเชิงพาณิชย์ จะต้องยื่นขอชำระภาษีอากรตามสภาพเศษซาก
คำถามค่ะ
ถ้าหากนำเศษซากหลังจากทำลาย สามารถส่งออกไปต่างประเทศ โดยที่ไม่ชำระภาษีตามสภาพเศษซากได้หรือไม่คะ

 

ADMIN โพสต์เมื่อวันพุธที่ 11 พฤศจิกายน 2563, 15:53:48 (210 สัปดาห์ ก่อน)
#3 Top

ประกาศ สกท ที่ ป.5/2543 ไม่ได้ระบุหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการขอส่งเศษซากหลังทำลายไปต่างประเทศ

เนื่องจาก หากบริษัทต้องการส่งเศษซากหลังทำลายออกไปต่างประเทศ

ก็น่าจะขออนุญาตส่งออกในสภาพส่วนสูญเสีย (ไม่ต้องทำลาย)

ซึ่งไม่มีภาระภาษี และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการทำลาย และไม่ต้องเสียค่าจ้างบริการแก่บริษัทผู้ควบคุมการทำลายที่ได้รับอนุญาตจาก BOI

ยกเว้นกรณีเป็นส่วนสูญเสียที่เป็นชิ้นงาน/สินค้ากึ่งสำเร็จรูป ที่ต้องมีการพิสูจน์รายการและปริมาณวัตถุดิบในส่วนสูญเสียนั้น

แม้จะขอส่งออกไปต่างประเทศ ก็ต้องให้บริษัทที่ได้รับมอบหมายจาก BOI ตรวจสอบและออกหนังสือรับรองรายการและปริมาณวัตถุดิบในส่วนสูญเสียนั้น


หากบริษัทยืนยันว่า ต้องทำลายก่อน จึงจะส่งออก ขอทราบเหตุผล/รายละเอียด มากกว่านี้

เพื่อจะนำไปตรวจสอบหลักเกณฑ์ และให้คำตอบต่อไป ครับ

Jindapon โพสต์เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน 2563, 08:45:04 (210 สัปดาห์ ก่อน)
#4 Top

ขอตอบคำถามในส่วนท้ายนะคะ

ที่จะทำลายเพราะมีการยกเลิกการซื้อขาย จากลูกค้า และลูกค้าให้ทางเราดำเนินการทำลายแล้วส่ง รีพอตให้กับลูกค้า และรายการทั้งหมดนี้
ทางบัญชีก็ได้ยื่นขอทำลายกับสรรพกรไปด้วย จึงมีสรรพกรมาเกี่ยวข้องค่ะ

ADMIN โพสต์เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน 2563, 14:38:46 (210 สัปดาห์ ก่อน)
#5 Top

ตอบคำถาม กรณีทำลาย และส่งออกเศษซากหลังทำลายไปต่างประเทศ ดังนี้

เนื่องจากประกาศและระเบียบปฏิบัติของ BOI ไม่ได้กำหนดเงื่อนไขนี้ไว้โดยชัดเจน

จึงขอแนะนำวิธีดำเนินการคือ

1.ยื่นขออนุมัติวิธีทำลาย พร้อมกับระบุว่าจะกำจัดโดยการส่งออกไปต่างประเทศ

2.ทำลายตามวิธีที่ได้รับอนุมัติ ภายใต้การควบคุมของ บ.Inspector และให้ บ.Inspector ออกหนังสือรับรองการทำลาย

3.ส่งเศษซากหลังการทำลาย ตามรายการและปริมาณที่ระบุในหนังสือรับรองของ บ.Insepctor ไปต่างประเทศ

4.ยื่นขออนุมัติตัดบัญชีส่วนสูญเสีย(นอกสูตร) ต่อ BOI


แต่เนื่องจากเป็นกรณีนี้เป็นเรื่องที่ BOI ไม่ได้กำหนดขั้นตอน/วิธีการดำเนินการ ไว้โดยชัดเจน

จึงควรปรึกษากับ จนท BOI ที่รับผิดชอบงานของบริษัทด้วยอีกทางหนึ่ง ครับ

<< ก่อนหน้า       1       ถัดไป >>

ถ้าหากคุณต้องการโพสต์ในกระทู้นี้ กรุณา ลงชื่อเข้าใช้ หรือ ลงทะเบียนใช้งานเว็บบอร์ด