![]() ![]() |
เรียนเจ้าหน้าที่ รบกวนสอบถามหน่อยค่ะ ผลิตภัณฑ์ของบริษัทคือ PCB เราจะเอาเศษกรอบ และฝุ่นที่เกิดขึ้นจากขั้นตอนการผลิตเป็นส่วนสูญเสียในสูตร ถ้าบริษัทได้ยื่นสูตรการผลิตที่มีช่องLOSS และจะขายของเสียในประเทษ โดยขอชำระภาษี 1.กรณีของเสียจริงมากกว่า LOSS ในสูตรที่ยื่นไว้ อย่างเช่น บริษัทยื่นสูตรไว้ทั้งหมด มี LOSS 100กก. แต่จริงๆเราขายของเสีย120กก.ในประเทศไหยและเสียภาษีตามน้ำหนัก 120 กก.แบบนี้ได้ไหมคะ 2.กรณีของเสียจริงน้อยกว่า LOSS ในสูตรที่ยื่นไว้ อย่างเช่น บริษัทยื่นสูตรไว้ทั้งหมด มี LOSS 100กก. แต่จริงๆเราขายของเสีย80กก.ในประเทศไหยและเสียภาษีตามน้ำหนัก 80 กกได้ไหมคะ แบบนี้ได้ไหม สองกรณีดังกล่าว ของเสียที่เราขายอาจจะไม่ตรงกับ LOSS ในสูตรที่ยื่นไว้ ตอนที่เราขอชำระภาษี บีโอไอจะอ้างอิงเอกสารอะไรไหมคะ
|
![]() ![]() |
ตอบคำถามดังนี้ 1. ส่วนสูญเสียในสูตร คือ ส่วนสูญเสียที่เกิดขึ้นในปริมาณคงที่ทุก ๆ ครั้ง เมื่อมีการผลิตสินค้ารุ่นนั้น ๆ 2. หากบริษัทแจ้งว่า มีส่วนสูญเสียในสูตรเกิดขึ้นในปริมาณที่ไม่คงที่ มากบ้างน้อยบ้าง 3. ในการขอชำระภาษีส่วนสูญเสียในสูตร เจ้าหน้าที่ BOI อาจให้บริษัทแสดงหลักฐานพิสูจน์ เช่น - เป็นส่วนสูญเสียในสูตร ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาใด - ในช่วงเวลานั้น บริษัทผลิตสินค้ารุ่นใดบ้าง อย่างละเท่าไร - มีหลักฐานอื่น เช่น การนำส่วนสูญเสียในสูตรไปเก็บนอกสถานที่หรือไม่ - อาจให้แนบเอกสารหลักฐาน เช่น product report ของช่วงเวลาดังกล่าว เป็นต้น ครับ
|
![]() ![]() |
สวัสดีค่ะ รบกวนสอบถามค่ะ กรณีที่ส่วนสูญเสียในสูตร เป็นเศษกรอบ PCB ทางเราต้องการจำหน่ายในประเทศ 1.ทางบริษัทต้องการทำลายเศษกรอบ ทางเราต้องชำระภาษีก่อนที่จะทำลายหรือไม่ หรือสามารถทำลายได้เลย แล้วค่อยชำระภาษีในกรณีที่จำหน่ายในประเทศ
แก้ไขโดย janis เมื่อวันศุกร์ที่ 4 กรกฏาคม 2568, 08:16:00
|
![]() ![]() |
1. ส่วนสูญเสียในสูตรการผลิต คือส่วนสูญเสียที่เกิดขึ้นในอัตราคงที่ เมื่อมีการผลิตสินค้ารุ่นนั้นๆ การขออนุญาตชำระภาษี ไม่ต้องทำลาย และไม่ต้องให้ บ.inspector ตรวจสอบรับรองปริมาณ โดยบริษัทสามารถพิสูจน์ปริมาณได้เอง เช่น จากปริมาณการผลิตในช่วงเวลานั้นๆ x ปริมาณส่วนสูญเสียในสูตรการผลิต 2. ส่วนสูญเสูญนอกสูตรการผลิต เช่น ขอบหัวท้ายของม้วนวัตถุดิบ หรือสินค้าที่ผลิตแล้วไม่ได้มาตรฐาน ฯลฯ คือส่วนสูญเสียที่เกิดขึ้นในอัตราไม่คงที่ จะต้องขออนุมัติวิธีทำลาย และทำลายให้เป็นเศษซาก โดยให้ บ.inspector ตรวจสอบรับรองการทำลาย และชนิดและปริมาณวัตถุดิบก่อนและหลังทำลาย การขออนุญาตชำระภาษี ให้ขอชำระตามชนิดและปริมาณวัตถุดิบที่ทำลาย ตามใบรับรองของ inspector ครับ |
<< ก่อนหน้า 1 ถัดไป >>