![]() ![]() |
แผ่น PCB ที่เสียระหว่างการผลิต และ NG FG คำถาม นอกสูตร 1.ทางเราสามารถเลือกได้หรือไม่ว่าจะ เสียภาษีตามสภาพเศษ หรือตามสภาพวัตถุดิบ ณ วันนำเข้า 2.กรณีชำระภาษีตามสภาพเศษ - ทางเราขอวิธีการทำลาย เพื่อจำหน่ายในประเทศ ในกรณีนี้จะมีค่าปรับหรือไม่คะ 3.กรณีชำระภาษีตามสภาพวัตุดิบ - สภาพวัตถุดิบในที่นี้คือ ตามสภาพ ณ วันที่เรานำเข้าใช่ไหมคะ ก่อนที่ทางเราจะจำหน่าย ทางเราต้องชำระภาษีก่อน ในส่วนนี้จะมีค่าปรับหรือไม่คะ ในสูตร 1.การตั้งชื่อส่วนสูญเสีย ทางเราสามารถตั้งชื่อตามโรงงานของเรากำหนดได้หรือไม่ หรือว่าต้องตั้งชื่อตามสภาพผลิตภัณฑ์นั้น ถ้าสมมติเป็นเศษกรอบ จะต้องตั้งตั้งชื่อว่าอย่างไรคะ (สามารถตั้งชื่อว่า เศษกรอบทองแดง - scrap copper frame / เศษกรอบที่เคลือบลามิเนต scrap Laminate frame) แบบนี้ได้หรือไม่คะ |
![]() ![]() |
ตอบคำถามดังนี้ครับ ส่วนสูญเสียนอกสูตร 1. สามารถขอชำระภาษีอากรตามสภาพ ณ วันนำเข้า หรือขอชำระภาษีในข่ายส่วนสูญเสียก็ได้ 2. กรณีชำระภาษีตามสภาพวัตถุดิบ ณ วันนำเข้า - ต้องชำระตามราคาวัตถุดิบและอัตราภาษี ณ วันนำเข้า จึงมีภาระภาษีสูงกว่าการชำระภาษีตามสภาพส่วนสูญเสีย - ต้องชำระค่าปรับ vat ด้วย 3. กรณีชำระภาษีตามสภาพส่วนสูญเสีย - ต้องทำลายเป็นเศษซากตามวิธีทำลายที่ได้รับอนุมัติจาก BOI - ภาษีอากรจะประเมินจากราคา/และพิกัดตามสภาพเศษซาก จึงมีภาระภาษีน้อยกว่าการชำระภาษีตามสภาพ ณ วันนำเข้า - ไม่มีค่าปรับ vat 4. ทุกกรณีต้องชำระภาษีให้เสร็จสิ้นก่อน จึงจะจำหน่ายส่วนสูญเสียนอกสูตรในประเทศได้ ส่วนสูญเสียในสูตร 1. การตั้งชื่อส่วนสูญเสีย ปกติให้อิงตามชื่อที่มีพิกัดศุลกากร เช่น ถ้าเป็นเศษกรอบทองแดง ปกติควรยื่นขอชำระภาษีเป็นเศษทองแดง ครับ
|
![]() ![]() |
ถ้าหากว่าในเศษกรอบของแผ่น PCB มีหลาย material แต่ทางเราไม่สามารถแยกได้ เนื่องจากว่ามีวัตถุดิบหลายอย่างรวมกัน เช่น มี copper clad laminate , prepreg , copper ball , tin ball เป็นต้น ในกรณีนี้ควรจะพิจารณาการตั้งชื่ออย่างไรคะ |
![]() ![]() |
ตอบคำถามดังนี้ครับ บริษัทได้รับส่งเสริมผลิต Multilayer PCB และเกิดส่วนสูญเสียในขั้นตอนผลิต ซึ่งเป็นส่วนสูญเสียนอกสูตร และจะขอชำระภาษีตามสภาพเศษซาก เพื่อจำหน่ายในประเทศ 1. ต้องขออนุมัติวิธีการทำลาย PCB และทำลายตามวิธีที่ได้รับอนุญาต 2. ในการทำลาย ต้องให้บริษัท Inspector ที่ได้รับอนุญาตจาก BOI ร่วมตรวจสอบ และออกใบรับรองตามที่ BOI กำหนด 3. หากเศษซาก PCB ที่ทำลายแล้ว มีพิกัดศุลกากร ให้ยื่นขอชำระภาษีเศษซาก PCB 4. แต่หากเศษซาก PCB ไม่มีพิกัดศุลกากร ให้ยื่นขอชำระภาษีเศษซากวัตถุดิบที่มีมูลค่าเชิงพาณิชย์ ที่มีอยู่ในเศษซาก PCB นั้น เช่น เศษทองแดง เศษดีบุก เป็นต้น 4.1 การคำนวณปริมาณเศษซากทองแดง ดีบุก ฯลฯ สามารถคำนวณได้จากหลักฐานข้อเท็จจริงของบริษัท เช่น ส่วนสูญเสียที่ขอทำลายใน Lot นั้นๆ เกิดจากการผลิต PCB รุ่นใด จำนวนเท่าไร แต่ละรุ่นมีส่วนประกอบของเศษวัตถุดิบที่มีมูลค่าเชิงพาณิชย์จำนวนกี่รายการ รายการละเท่าไร เป็นต้น 4.2 การตรวจสอบรับรองรายการ/และปริมาณเศษวัตถุดิบที่มีมูลค่าเชิงพาณิชย์ ตามข้อ 4.1 อาจทำได้ 2 วิธีคือ ให้บริษัท Inspector ตรวจสอบ และระบุในใบรับรองด้วย หรือให้ จนท BOI ตรวจสอบในขั้นตอนการขออนุญาตชำระภาษี ซึ่งเรื่องนี้ แนะนำว่าควรปรึกษากับ จนท BOI ผู้รับผิดชอบโครงการของบริษัท เพื่อกำหนดแนวทางปฏิบัติตามที่ จนท เห็นสมควรต่อไป ครับ |
<< ก่อนหน้า 1 ถัดไป >>