GUEST โพสต์เมื่อวันอังคารที่ 19 กรกฏาคม 2565, 11:32:18 (122 สัปดาห์ ก่อน)
|
สอบถามเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ BOI ที่เกี่ยวกับเครื่องจักร โดยมีข้อสงสัยและคำถามเกี่ยวกับการทำลายเครื่องจักร ที่มีอายุไม่เกิน 5 ปี ดังนี้ค่ะ กรณีทางบริษัทฯ มีเครื่องจักรที่ไม่สามารถใช้งานได้ เนื่องจาก เครื่องจักรหล่น ตอนทำการติดตั้ง ทำให้ไม่สามารถใช้งานเครื่องจักรได้ และเครื่องจักรนี้มีอายุไม่เกิน 5 ปี จึงจำเป็นต้องขออนุญาตทำลายเครื่องจักรกับ BOI คำถามคือ ทางบริษัท ยังไม่เคยทำลายเครื่องจักรมาก่อน นอกจากขออนุญาตทำลายกับทาง BOI แล้ว บริษัทต้องแจ้งกับทางฝ่ายไหนให้ทราบเกี่ยวกับการทำลายนี้อีกหรือไม่ และขั้นตอนในการดำเนินการทำลาย อยากทราบว่า ทางบริษัทเข้าใจถูกต้องหรือไม่ค่ะ ก่อนการทำลาย ตอนทำลาย หลังการทำลาย บริษัท Q...... |
ADMIN โพสต์เมื่อวันอังคารที่ 19 กรกฏาคม 2565, 11:53:36 (122 สัปดาห์ ก่อน)
|
การขอทำลายเครื่องจักรที่นำเข้ามาโดยใช้สิทธิยกเว้นลดหย่อนภาษีอากร กำหนดไว้ตาม ประกาศ สกท ที่ ป.3/2555 ขั้นตอนการทำลายตามที่สอบถาม เข้าใจถูกต้องแล้ว คือ 1. ยื่นขออนุมัติทำลายเครื่องจักร (ที่ยังไม่ปลอดจากภาระภาษี) ในระบบ eMT 2. หากเป็นการทำลายเครื่องจักรหลัก ที่ทำให้กำลังผลิตของโครงการลดลงมากกว่า 20% จะต้องมีการซื้อเครื่องจักรใหม่มาทดแทน หรือต้องลดขนาดโครงการ 3. ในการทำลาย จะต้องให้บริษัท inspector ที่ได้รับคัดเลือกจาก BOI ให้เข้าร่วมตรวจสอบ และออกใบรับรองการทำลาย 4. จากนั้นยื่นตัดบัญชีเครื่องจักร ในระบบ eMT ต่อไป ครับ |
Shohei โพสต์เมื่อวันอังคารที่ 13 สิงหาคม 2567, 09:47:42 (14 สัปดาห์ ก่อน)
|
เรียน ADM, ขอเรียนสอบถามเพิ่มเติมค่ะ
ในกรณีที่ บริษัทฯนำเข้าเครื่องจักรภาย มาตรา 28 รายการเป็นท่อ piping และ สายไฟ เมื่อติดตั้งเสร็จแล้ว พบ ว่ามีเศษที่เหลือจากการตัด ให้ได้ตามขนาด เศษที่เหลือไม่สามารถนำไปใช้งานต่อได้ จึงจะทำลาย 1.กรณีนี้สามารถดำเนินการตามในกระทู้นี้ด้วยหรือไม่คะ 2.เศษ Scrap หลังทำลายแล้วสามารถขายเป็นเศษซากได้หรือไม่ 3.หากขายได้ ต้องนำไปเสียภาษีก่อนหรือไม่คะ ขอบคุณค่ะ
|
ADMIN โพสต์เมื่อวันอังคารที่ 13 สิงหาคม 2567, 13:48:35 (14 สัปดาห์ ก่อน)
|
ตอบคำถามดังนี้ 1. เศษท่อและเศษสายไฟ ตามที่บริษัทสอบถาม ไม่ใช่เครื่องจักรที่ชำรุดเสียหาย จึงไม่เข้าข่ายการขอทำลายเครื่องจักร ตามประกาศ สกท ที่ ป.3/2555 2. การดำเนินการเกี่ยวกับเศษของเครื่องจักร (หรือของที่นำเข้าในข่ายเครื่องจักร) ไม่มีประกาศกำหนดวิธีปฏิบัติไว้เป็นการเฉพาะ 3. ความเห็นของแอดมินคือ ควรหารือกับ จนท BOI ที่รับผิดชอบงานเครื่องจักรของบริษัท จากนั้นอาจทำหนังสือบริษัทขอจำหน่ายเศษเครื่องจักรดังกล่าว (เศษท่อ เศษสายไฟ) โดยสรุปชนิดและปริมาณของเศษ เพื่อให้ BOI พิจารณาอนุญาตต่อไป ครับ |
Shohei โพสต์เมื่อวันอังคารที่ 13 สิงหาคม 2567, 14:50:15 (14 สัปดาห์ ก่อน)
|
ขอบคุณมากค่ะ
|
ADMIN โพสต์เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม 2567, 13:53:57 (14 สัปดาห์ ก่อน)
|
ขอให้ข้อมูลเพิ่มเติมนะครับ เนื่องจากเป็นกรณีของเศษท่อ ที่บริษัทจะขอจำหน่าย ปกติ BOI จะให้ชำระภาษีตามสภาพเศษ ครับ |
<< ก่อนหน้า 1 ถัดไป >>